Your search results

เรียนต่อเนเธอร์แลนด์

เรียนต่อเนเธอร์แลนด์ – Study in Netherlands


ระบบการศึกษา

การศึกษาในระดับประถมศึกษาของเนเธอร์แลนด์จะใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ปีของการศึกษาถือเป็นการศึกษาภาคบังคับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 12 ปี และถือเป็นการศึกษาภาคบังคับไปจนอายุ 16 ปีกระทรวงศึกษาธิการเนเธอร์แลนด์ ออกกฎหมายให้เด็กทุกคนต้องไปโรงเรียนเมื่อมีอายุ 4 ปีเต็ม (กฎหมายเก่าบังคับให้ไปเมื่ออายุ 5 ปี) อาจแบ่งระบบการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ออกเป็น 3 ระดับ ระดับแรกคือ การศึกษาขั้นประถม (Basisonderws) ระดับที่ 2 คือการศึกษาขั้นมัธยม (Voortgezet Onderwiis) และระดับที่ 3 คือขั้นอุดมศึกษา

หลักสูตร อายุ ระยะเวลาในการศึกษา ศึกษาต่อ การเรียน

การสอน

สาขาวิชา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
VMBO (Voorbereidend

Middelbaar Beroepsonderwijs

หรือ Preparatory

Middle-Level

Applied Education)

เป็นการศึกษาในช่วงอายุ 12ปีถึง 16 ปี ซึ่งมีการผสมผสานกันระหว่างหลักสูตรวิชาชีพและหลักสูตรทางทฤษฎี ระยะเวลา

4 ปี

MBO เทียบเท่า ระดับ ปวส. หรือ HAVO เน้อการสอนด้านวิชาชีพ
  • วิชาชีพ
ปริญญาตรี

ระยะเวลา

4 ปี (ประมาณ 240

หน่วยกิต)

ปริญญาโท

ระยะเวลา 1, 1.5

หรือ  2 ปี

(ประมาณ 60, 90, 120

หน่วยกิต)

HAVO

(Hoger Algemeen

Voortgezet Onderwijs หรือ

Higher General Continued

Education)

มี 5 ระดับชั้นตั้งแต่นักเรียนอายุ 12 ถึง
17 ปี ซึ่งเมื่อเรียนจบในระดับนี้จะสามารถเข้าเรียนต่อในระดับ HBO (โพลีเทคนิค) ต่อไปได้
ระยะเวลา 5 ปี (2 ปี สุดท้าย เทียบเท่ามัธยม

ศึกษาตอนปลาย)

Universities of

Applied Science

เน้นการทำศึกษาวิจัยและค้นคว้าเชิงวิชาการ

 

  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • วิทยศาสตร์และสุขภา
  • เศรษฐกิจและสังคม
  • วัฒนธรรมและสังคม
ปริญญาตรี

ระยะเวลา

4 ปี (ประมาณ 240

หน่วยกิต)

ปริญญาโท

ระยะเวลา 1, 1.5

หรือ  2 ปี

(ประมาณ 60, 90, 120

หน่วยกิต)

VWO

(Voorbereidend

Wetenschappelijk

Onderwijs หรือ

Preparatory

Scientific

Education)

มี 6 ระดับชั้นตั้งแต่นักเรียนอายุ 12 ถึง 18 ปี ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้โดยทางมหาวิทยาลัยจะ

พิจารณาจากประวัติและวิชาที่เรียนเป็นหลัก

ระยะเวลาเรียน 6 ปี (3 ปี สุดท้ายเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย) Universities of Applied Science

และ Research

University

ทั่วไปและเฉพาะทางด้านวิศวกรรมและเกษตรกรรม (Research-oriented programs = เน้นการทำการศึกษาวิจัยและค้นคว้าทางวิชาการ)
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • วิทยาศาสตร์และสุขภาพ
  • เศรษฐกิจและสังคม
  • วัฒนธรรมและสังคม
ปริญญาตรี

ระยะเวลา 3 ปี (ประมาณ 180

หน่วยกิต)

ปริญญาโท

ระยะเวลา

1, 1.5

หรือ 2 ปี

(ประมาณ

60-120

หน่วยกิต)

ปริญญาเอกระยะเวลา 2 ปี ปริญญา

ที่ได้รับ คือ

วิศวกรรม

ศาสตร์

ดุษฎี

บัณฑิต

การศึกษาชั้นประถมศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษาในเนเธอร์แลนด์จะมี 8 ระดับขั้น ซึ่งจะเรียกกันว่า Group 1 ถึง Group 8 ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนั้นจะเริ่มที่ Group 2 แต่เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มักจะได้รับการศึกษาตั้งแต่ Group 1 สำหรับเนื้อหาการเรียนการสอนตั้งแต่ใน Group 3 นักเรียนจะได้เรียนรู้ว่าควรอ่าน และเขียนอย่างไร และเรียนรู้หลักคณิตศาสตร์ โรงเรียนส่วนใหญ่จะเริ่มสอนภาษาอังกฤษใน Group 7 และ 8 แต่ก็มีบางโรงเรียนอีกเช่นกันที่เริ่มสอนกันตั้งแต่ใน Group 4

โรงเรียนประถมในเนเธอร์แลนด์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ :

  1. โรงเรียนประถมสามัญ (Openbare School)

โรงเรียนประเภทนี้ควบคุมโดยเทศบาลเมือง หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากเทศบาลเมือง หลักการสอนจะไม่นั้นพิเศษไปทางศาสนาใด

  1. โรงเรียนพิเศษ (Bijzondere School)

ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดศาสนาต่าง ๆ เช่น โรงเรียนคาธอลิก (katholieke school) โรงเรียนคริสเตียน (christelijke school) โรงเรียนยิว (joodse school) โรงเรียนอิสลาม (islamitische school) โรงเรียนฮินดู (hindoeistische school) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนพิเศษที่แบ่งออกไปตามระบบการสอน เช่น ระบบดาลตัน (Dalton) ระบบมอนเตสซอรี่(Montessori) ระบบเยนาพลาน (Jenaplan) ระบบฟรายเน็ต (Freinet)

  1. โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ (Speciale School)

เปิดสำหรับเด็กพิการหรือเด็กที่มีปัญหาด้านอื่นซึ่งไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ ในปัจจุบันมีโรงเรียนสำหรับเด็กพิการหลายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกับโรงเรียนเด็กธรรมดา เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการสามารถเข้าโรงเรียนธรรมดาได้มากที่สุด

โรงเรียนสำหรับเด็กพิการเหล่านี้ยังแยกย่อยออกเป็น โรงเรียนสำหรับเด็กหูหนวก โรงเรียนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยินเสียงหรือการพูด เด็กพิการแขนขา รวมทั้งเด็กที่ป่วยหนักเป็นระยะเวลานาน

การศึกษาชั้นมัธยมศึกษา

เมื่อเด็กจบการศึกษาขั้นประถม ผู้ปกครอง ครู และตัวเด็กเอง จะร่วมกันพิจารณาเลือกโรงเรียนมัธยมที่เหมาะสมกับเด็ก โดยจะดูผลจากการเรียนและความสนใจของเด็กเป็นหลักสำคัญ โรงเรียนในมัธยมในเนเธอร์แลนด์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ :

  1. สายอาชีวะ (VMBO: Voorbereidend Middelbaar Beroepsonderwijs) โรงเรียนประเภทนี้เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ 1 สิหาคม 1 999 โดยรวมโรงเรียนมัธยมแบบเก่า 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ โรงเรียนเตรียมอาชีวะ (Voorbereidend Beroepsonderwjs) และโรงเรียนมัธยมสายสามัญระดับรอง (Middelbaar Algemeen Voortgezet Onderwijs) โรงเรียนสายอาชีวะใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี มีภาควิชา 4 ภาค ได้แก่ :
    • ภาคทฤษฎี (Theoretische Leerweg),
    • ภาคทฤษฎีผสมปฏิบัติ (Gemengde Leerweg)
    • ภาคอาชีพกึ่งการจัดการ (Kaderberoepsgerichte Leerweg)
    • ภาคอาชีพขั้นตัน (Basisberoepsgerichte Leerweg)

โรงเรียนมัธยมสายอาชีวะบางแห่งอาจไม่เปิดสอนครบทุกภาควิชา เช่น โรงเรียนที่เป็นเตรียมอาชีวะเดิม จะเปิดสอนได้เพียงภาคอาชีพกึ่งการจัดการและภาคอาชีพขั้นต้น

วิชาชีพในแต่ละภาควิชาที่เด็กจะเลือกเรียนนี้ประกอบไปด้วย งานด้านเทคนิค (ประเภทช่างต่าง ๆ) งานด้านพยาบาล สุขอนามัย งานด้านธุรกิจ และงานด้านเกษตรกรรม หลังจากที่เด็กจบการศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวะชั้นรอง (Middelbaar beroepsonderwjs) ในแผกวิชาที่ต้องการ

  1. สายสามัญระดับสูง (HAVO: Hoger Algemeen Voortgezet onderwis) ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 5 ปีจากนั้นเด็กสามารถเรียนต่อในวิทยาลัยอาชีวะชั้นสูงที่นิยมเรียกว่า HBO (Hoger Beroepsonderwjs) ตามแผนกวิชาที่ต้องการโรงเรียนมัธยมแบบ HAVO นี้มีภาควิชา 4 ภาค ได้แก่
    • วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Natuur en techniek)
    • วิทยาศาสตร์และสุขศึกษา (Natuur en gezondheid)
    • เศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์(Economie en maatschappij)
    • วัฒนธรรมและสังคมศาตร์ (Cultuur en maatschappi)
  1. โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย (vWO: Voorbereidend Wetenschappelijk Onderwjs) ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 6 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเตรียมเด็กสำหรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย (WO: Wetenschappelijk Onderwjs) โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ :

3.1 ประเภทที่บังคับให้เรียนภาษาลาตินและกรีก (gymnasium)

3.2 ประเภทที่ไม่บังคับให้เรียนภาษาลาตินและกรีก (atheneum) แต่เด็กอาจเลือกเรียนเป็นวิชาเลือกได้หากโรงเรียนเปิดสอน

3.3 ประเภทที่มีทั้งหลักสูตรแบบ ก. และแบบ ข. ในโรงเรียนเดียวกัน (lyceum) โดยเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนแบบไหนเด็กที่เรียนมัธยมสายสามัญระดับสูง และเด็กที่เรียนเตรียมมหาวิทยาลัยหลังจากที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 หากมีผลคะแนนไม่ดีนักหรือต้องการที่จะเรียนสายอาชีวะ อาจเข้าเรียนในวิทยาลัยอาชีวะชั้นรองได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

การศึกษาขั้นอุดมศึกษา

สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเนเธอร์แลนด์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักฯ คือ Research University และ University of Applied Sciences นอกจากนี้แต่ละสถาบันการศึกษายังได้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการเรียนการสอน หลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับความต้องการของนักเรียน/นักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ อีกด้วย

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

http://www.study.in.nl/

http://www.nuffic.nl/

ที่มา:

หนังสือสาระน่ารู้ OCSC Expo 2018

 

  • Advanced Search

Compare Listings