ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand)
ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี ค.ศ. 1840 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ “Complete Chieftainship” (Tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1840 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่ใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่ภายใต้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นราชินีพระองค์เดียวกับที่ทรงปกครองประเทศอื่นในเครือจักรภพแห่งอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ฟิจิ ฯลฯ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอ ซึ่งเป็นพื้นที่ปกครองตนเองพิเศษโดยมีรัฐบาลราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นผู้ชี้แนะและปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น
ประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ที่ไหน? ข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geography)
นิวซีแลนด์อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ที่เส้นละติจูด 34-47 องศาใต้ มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 1,600 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่รวมโดยประมาณ 268,021 ตารางกิโลเมตร โดยขนาดใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น หรือสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) ดินแดนที่ใกล้ที่สุด คือ ทวีปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประกอบไปด้วย 2 เกาะใหญ่ คือเกาะเหนือ (North Island) และเกาะใต้ (South Island) และยังมีเกาะปลายล่างสุด ชื่อเกาะสจ๊วร์ต (Stewart Island) ซึ่งยังไม่นับรวมเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย นิวซีแลนด์ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ในนิวซีแลนด์เป็นเทือกเขาสูงและเนินเขา เกาะใต้มีเทือกเขาสูงเรียกว่า เซาว์เทิร์นแอลป์พาด ผ่านกลาง มีฟยอร์ด (Fjord) ธารน้ำแข็ง บางส่วนเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ใช้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีบ่อน้ำร้อน ภูเขาไฟที่ดับแล้ว และยังไม่ดับ บ่อโคลนเดือด บริเวณเทือกเขาสูงมีหิมะ ขาวปกคลุม พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์ มีภูมิประเทศที่มีความหลากหลายและสวยงามและทะเลสาปในใจกลางเกาะ มีน้ำพุร้อนและบ่อโคลนเดือด ภูเขาสูงสุดคือ เมาท์คุก (3,754 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ซึ่งอยู่ในเกาะใต้
ประเทศนิวซีแลนด์มีสภาพภูมิอากาศ (Climate) อย่างไรบ้าง?
ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่
-
- Spring ฤดูร้อน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ (14 – 28 องศาเซลเซียส)
- Summer ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม (10 – 24 องศาเซลเซียส)
- Autumn ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม (8 – 20 องศาเซลเซียส)
- Winter ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน (12 – 22 องศาเซลเซียส)
เนื่องจากนิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมฝ่ายตะวันตก และ กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก ทำให้มีสภาพอากาศแตกต่างกันดังนี้ – เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ ส่วนเกาะใต้อากาศเย็น ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก
โซนเวลา (Time Zone)
ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งอยู่ใกล้เส้นแบ่งเวลาสากล (International Date Line) โดยเร็วกว่ามาตรฐาน กรีนิช 12 ชั่วโมง ในแต่ละปีจะมีการประกาศวันที่เปลี่ยนเวลาที่เรียกว่า Daylight Saving Time เวลาของประเทศนิวซีแลนด์ปัจจุบัน เร็วกว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง และตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง
การเมืองการปกครอง (Politic)
รูปแบบการปกครอง: ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) เมื่อปี ค.ศ. 1840 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้ “Complete Chieftainship” (Tino Rangatiratanga) แก่ชนเผ่าเมารีของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน ความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1840 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยและอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของกษัตริย์แห่งนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับประเทศอื่นในเครือจักรภพ นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอซึ่งปกครองตนเอง และปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น และชาวเมารีเรียกนิวซีแลนด์ว่า Aotearoa (เอาเตอารัว) หมายถึง “ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว” หรือ Niu Tireni (นิวทิเรนี) ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ
รัฐและดินแดน (State and Territory)
นิวซีแลนด์แบ่งตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะ ดังนี้
เกาะเหนือ (North Island)
เวลลิงตัน (Wellington) เมืองหลวงของนิวซีแลนด์และเป็นศูนย์กลางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเหนือ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก (The World’s Most Livable City) โดย Deutsch Bank ในปี 2017 และได้รับการโหวตให้เป็นเมืองหลวงขนาดเล็กที่เท่ห์ที่สุดในโลก(The Coolest Little Capital in the World) โดย Lonely Planet เมื่อปี 2012, ฮามิลตัน Hamilton ฮามิลตัน นอกจากนี้ เมืองนี้ได้รับสมญาว่าเป็น Windy city เวลลิงตันเป็นเมืองท่าที่เชื่อมระหว่าง เกาะเหนือ และเกาะใต้ ที่มีช่องแคบคุก (cook) คั่นกลาง มีความสำคัญในด้านการปกครอง
โอ๊คแลนด์ (Auckland) เมืองโอ๊คแลนด์เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไวเตมาตา และอ่าวมานูเกา เป็นเมืองที่ทันสมัยและเป็นศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งกำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นเมืองแห่งการเล่นเรือใบ นอกจากนี้ยังเพียบพร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและบรรยากาศแบบสบายๆ ทำให้โอ๊คแลนด์กลายเป็นเมืองที่ได้รับการขนานนามว่า เมืองแห่งการแล่นเรือใบ (The City of Sails) หรือ เมืองราชินี ที่มีแม่น้ำไวกาโต ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในนิวซีแลนด์ไหลผ่าน
โรโตรัว (Rotorua) เมืองที่เรียกได้ว่า “เมืองแห่งสปาและการท่องเที่ยว” เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมที่สุดแห่งหนึ่งของ North Island เนื่องจากเมืองนี้อุดมไปด้วยแหล่งกำเนิดของน้ำพุร้อน ป่า ทุ่งหญ้าและทะเลสาบ อุดมสมบูรณ์ ด้วยปลาเทราต์ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองโบราณที่สั่งสมวัฒนธรรมของชาวเมารี ทำให้เมือง นี้เต็มไป ด้วยความสนุกสนาน สำหรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
เกาะใต้ (South Island)
ไคร้สท์เชิร์ช (Christchurch) เป็นเมืองเก่าแก่และ ใหญ่ที่สุดทางเกาะใต้ เมืองไครสต์เชิร์ชเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษอย่างท่องแท้ โดยมีแม่น้ำเอวอนไหลผ่านกลางเมืองและสถาปัตยกรรมในรูปแบบของอังกฤษยุคบุกเบิก และด้วยความร่มรื่นของถนนทุกสายและมีสวนดอกไม้สวยงามอยู่ทั่วเมืองทำให้เมืองไครสต์เชิร์ชถูกกล่าวขานว่าเป็น (Garden City) เมืองแห่งสวนดอกไม้ตระการตา
ดูนิดิน (Dunedin) ดะเนดิน หรือสก๊อตแลนด์แห่งนิวซีแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ในเขต Otago เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ University of Otago ปัจจุบันเป็นจุดศูนย์กลางนักท่องเที่ยวทัวร์ธรรมชาติ (Eco-tour) เช่น ทัวร์ดูนกเพนกวิน, ทัวร์ดูแมวน้ำ, และการเดินป่าแบบธรรมชาติ
ควีนส์ทาวน์ (Queenstown) เป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นเมืองหลวงแห่งการผจญภัยของโลก ตั้งอยู่ริมทะเลสาบวาคาทีปู (Wakatipu) จึงมีวิวสวยของเทือกเขาสีฟ้ายอดเขาหิมะปกคลุมขาว สะท้อนเงาทะเลสาบให้ผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติได้ชื่นชมกันควีนสทาวน์เป็นเมืองแห่งความสนุกสนานและมีชีวิตชีวา มีกิจกรรมนานัปการให้ทำ ทั้งในบริเวณตัวเมือง และเมืองใกล้เคียง ในช่วงฤดูหนาวที่นี่เป็นศูนย์รวมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นสกี และในช่วงฤดูร้อนก็เป็นที่นิยมในหมู่นักขี่จักรยานภูเขา นักไต่เขาและนักกอล์ฟที่จะเดินทางไปยังไหล่เขาอันเขียวขจีเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558, 088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศนิวซีแลนด์ (Economy)
นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การทำผลไม้กระป๋อง และอุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น
สกุลเงิน (Currency)
นิวซีแลนด์ดอลลาร์ (NZD)
เชื้อชาติ (Ancestry and Immigration)
-
- ชนผิวขาว นิวซีแลนด์ 75 %
- ชาวพื้นเมืองเชื้อสายเมารี 10 %
- ชนกลุ่มน้อยเชื้อสายชาวเกาะแปซิฟิกใต้ 5 %
- ชาวเอเชีย และ ชนชาติอื่นๆ 10 %
ประเทศนิวซีแลนด์ใช้ภาษาอะไร? (Languages)
นิวซีแลนด์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเมารี และภาษาสัญลักษณ์นิวซีแลนด์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา (Religion)
ชาวนิวซีแลนด์นับถือศาสนาคริสต์
วัฒนธรรม (Culture)
นิวซีแลนด์ มีวัฒนธรรม 2 แบบ คือ วัฒนธรรมคนผิวขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับคนยุโรปและอเมริกัน และวัฒนธรรมเผ่าเมารี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเป็นวัฒนธรรมที่มีความเคร่งครัดในเรื่อง ขนบธรรมเนียมพิธีรีตองชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อและช่วยเหลือผู้เดินทางจากต่างประเทศ นอกจากนั้นเป็นคนที่ถือเรื่องการรักษาการนัดหมายอย่างเคร่งครัด การให้ทิปเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นนักในประเทศนิวซีแลนด์ บางครั้งบริกรจะปฏิเสธเงินค่าทิป
การคมนาคม (Transportation)
การเดินทางและการประหยัดค่าเดินทางในนิวซีแลนด์
โอ๊คแลนด์: เมืองโอ๊คแลนด์มีเครือข่ายขนส่งมวลชนโดยรถประจำทาง รถไฟและเรือข้ามฟากที่มีประสิทธิภาพและราคาประหยัด เพื่อให้คุณสามารถเดินทางไปรอบเมืองและเขตชานเมือง มีบริการรถประจำทาง Link และ Stagecoach วิ่งให้บริการทุก 10 นาทีอยู่รอบเมือง หากคุณต้องการเดินทางไปยังหลายสถานที่ในหนึ่งวัน บัตรโดยสาร Auckland Day Pass เป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุดซึ่งรวมการใช้บริการรถประจำทางและเรือข้ามฟากในเมือง นอกจากนี้ยังสามารถประหยัดเงินได้ด้วยการซื้อบัตรโดยสาร 10 รอบสำหรับรถประจำทาง รถไฟและเรือข้ามฟากทุกสายได้อีกด้วย โปรแกรมวางแผนการเดินทางบนเว็บไซต์ Maxx จะช่วยให้คุณสามารถเลือกได้ว่ารูปแบบการเดินทางและตั๋วโดยสารแบบใดที่เหมาะสำหรับคุณ
เวลลิงตัน: เมืองเวลลิงตันก็เป็นอีกเมืองที่มีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาประหยัดด้วยบริการรถประจำทางและรถไฟ บัตรรายเดือนและบัตรโดยสาร 10 รอบเพื่อใช้บริการรถไฟและรถประจำทางมีจำหน่ายสำหรับนักศึกษาที่ต้องอยู่อาศัยเป็นระยะเวลานานและมีราคาตามโซนพื้นที่การเดินทาง หากคุณอยู่ที่นี่เพียงไม่กีวัน การซื้อบัตร Daytripper เป็นรายวันจะคุ้มค่ากว่า โดยคุณจะสามารถใช้บริการรถประจำทางและรถไฟได้ในโซน 1-3 ของเมือง
ไครส์เชิร์ช: รถประจำทางภายในเมืองไครส์เชิร์ชทุกสายให้บริการโดย Bus Exchange คุณสามารถซื้อบัตรโดยสารรายสัปดาห์และบัตรโดยสารหนึ่งวันซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ นอกจากนี้ยังมีบริการรถประจำทางฟรีในเขตใจกลางเมืองซึ่งมีสีเหลืองสดและวิ่งให้บริการตามจุดสำคัญในเมืองทุก 10-15 นาที
ดะนีดิน: เมืองดะนีดินเป็นเมืองขนาดเล็กและสถานที่ส่วนใหญ่สามารถเดินถึงกันได้จากสถาบันการศึกษาของคุณ อย่างไรก็ตามก็มีรถประจำทางให้บริการอยู่รอบเมืองโดยบริษัท The Octagon และมีบัตรโดยสารจำหน่ายโดยคิดค่าบริการตามโซนพื้นที่
สนามบินสำคัญของประเทศนิวซีแลนด์ (Important Airports)
มีทั้งหมดจำนวน 4 แห่ง ได้แก่
- สนามบิน เมือง Auckland (ตัวย่อ IATA: AKL) ตั้งอยู่เกาะเหนือของเมือง Auckland เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่เป็นทั้งศูนย์กลางภายในประเทศและระหว่างประเทศสำหรับ Air New Zealand และเป็นศูนย์กลางของ Virgin Australia และ Jetstar Airways ของนิวซีแลนด์เป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
- สนามบิน เมือง Wellington (ตัวย่อ IATA: WLG) ตั้งอยู่ที่เกาะเหนือของเมือง Wellington เมืองหลวงของประเทศที่นี่เป็นศูนย์กลางสำหรับ Air New Zealand สนามบินแห่งนี้ห่างจากใจกลางเมือง Wellington เพียง 9 กิโลเมตร
- สนามบิน เมือง Christchurch (ตัวย่อ IATA: CHC) เมืองที่ใหญ่สุดในเกาะใต้ สนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมือง Christchurch เพียง 12 กิโลเมตร
- สนามบิน เมือง Queenstown (ตัวย่อ IATA: ZQN) ตั้งอยู่ที่เกาะใต้บริเวณย่าน Frankton สนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมือง Queenstown เพียง 8 กิโลเมตร
ระบบน้ำประปา (Water Supply System)
น้ำประปาของประเทศนิวซีแลนด์มีความสะอาดมาก คุณภาพพอ ๆ กับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ขายกันทั่วไปเลยทีเดียว มั่นใจได้เลยว่าสะอาดแน่นอนสามารถดื่มได้ทันที หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายควรพกขวดน้ำเปล่าไปด้วย เพื่อกรอกน้ำไว้ดื่มก่อนออกเดินทาง
ระบบไฟฟ้า (Electrical System)
กระแสไฟฟ้า 230/240 โวลต์ ในโรงแรมและที่พักส่วนใหญ่จะเตรียมไฟระบบ 110 โวลต์ไว้ให้บริการ หรืออาจนำอุปกรณ์แปลงไฟและตัวแปลงจาก 2 หัวเป็น 3 หัว แนะนำให้เตรียมติดตัวไปด้วย
ระบบโทรศัพท์ (Telephone Number)
รหัสทางไกลระหว่างประเทศของนิวซีแลนด์คือ (+64)
หมายเลยโทรศัพท์ที่สำคัญในประเทศนิวซีแลนด์
- เบอร์โทร 111 เหตุฉุกเฉิน (โทรฟรี 24 ชั่วโมง)
- เบอร์โทร 018 สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ (นิวซีแลนด์)
- เบอร์โทร 0172 สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ (ต่างประเทศ)
- เบอร์โทร (09) 377 3886
ข้อมูลการเสียภาษีในประเทศนิวซีแลนด์ (Taxation)
IRD Number คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนิวซีแลนด์
IRD Numbers for Individuals สำหรับนักเรียนที่ต้องการหางานพาร์ทไทม์ระหว่างเรียนที่นิวซีแลนด์ซึ่งเลข IRD Number จะช่วยในการตรวจสอบว่าภาษีที่จ่ายไปแล้วเท่าไหร่และจำนวนนั้นถูกต้องหรือไม่ รวมถึงเป็นเลขที่บันทึกกิจกรรมการเสียภาษีไปตลอดชีวิต และเป็นเลขเฉพาะบุคคลของคนนั้น ๆ แน่นอนไม่ว่าจะขอเคลมภาษีคืนตอนจะกลับเสียมากไปน้อยไป ก็สามารถตรวจสอบตัวเลขได้ซึ่งการสมัครงานที่ใดก็ตาม นักเรียนจำเป็นต้องมีเลขนี้ให้นายจ้างและต้องชำระภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนิวซีแลนด์
IRD Number สามารถสมัครได้ที่ https://www.ird.govt.nz/act…/apply-for-a-personal-ird-number
สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558, 088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ
ที่มา:
- New Zealand Tourism Guide Website: https://www.tourism.net.nz/
- Infoplease Website: https://www.infoplease.com/
- 100% Pure New Zealand Website: https://www.newzealand.com/int/facts/
- New Zealand Government Website: https://www.ird.govt.nz/
ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์