วีซ่านักเรียนประเทศแคนาดา
ในแต่ละปีจะมีนักเรียนต่างชาติกว่า 130,000 คนที่เดินทางเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศแคนาดา เพราะว่าประเทศแคนาดามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ประเทศแคนาดาเป็นประเทศแห่งวัฒนธรรมที่สดใสและการให้โอกาส สิ่งที่ประเทศแคนาดาและสถาบันการศึกษาให้ความสำคัญที่สุดคือ การวิจัย (Research) สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Publications) และความร่วมมือระหว่างประเทศ (International Collaborations)
ผู้ที่สนใจเรียนต่อประเทศแคนาดาจะต้องมี Canadian Study Permit หรือวีซ่านักเรียนของประเทศแคนาดาด้วย
Study Permit คืออะไร
Study Permit คือเอกสารที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศแคนาดาที่มีอำนาจในการให้สิทธิ์ชาวต่างชาติในการศึกษาในประเทศแคนาดา นักศึกษาต่างชาติจะไม่สามารถเรียนในประเทศแคนาดาได้หากไม่มี Study Permit ที่ยังไม่หมดอายุ และนักศึกษาที่มี Study Permit จะสามารถสมัครเรียนกับสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลแคนาดาหรือที่เรียกว่า “Designed Learning Institutions” เท่านั้น ก่อนจะได้ Study Permit นักศึกษาจะต้องได้รับ Offer Letter จากสถาบันการศึกษาที่สมัครก่อนและระยะเวลาของ Study Permit จะครอบคลุมถึงแค่ระยะเวลาเรียนของการศึกษาเท่านั้น
กิจกรรมต่อไปนี้สามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่จำเป็นต้องสมัครขอ Study Permit
- การเข้าร่วมหลักสูตร Preschool หรือหลักสูตรก่อนการศึกษาภาคบังคับ เช่น อนุบาล
- การศึกษาหลักสูตร Distance Learning Program (การศึกษาทางไกล)
- การเรียน Audit Courses คือ รายวิชาแบบร่วมเรียน ซึ่งนักเรียนจะสามารถลงเรียนได้แต่ไม่ได้รับเครดิต ส่วนใหญ่จะเป็นผลผ่าน/ไม่ผ่านจากรายวิชานั้นๆ
- การเรียนคอร์สที่รวมอยู่ในแพ็คเก็จท่องเที่ยวที่เป็นกิจกรรมเสริมสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น คอร์สดำน้ำหรือสกี เป็นต้น
- การเรียนคอร์สที่ไม่ใช่วิชาการ อาชีพหรือวิชาชีพที่เป็นที่สนใจโดยทั่วไปและสามารถเรียนจบภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตเมื่อเข้าสู่ประเทศแคนาดา
- การเรียนคอร์สหรือโปรแกรมที่มีระยะเวลาเรียนน้อยกว่า 6 เดือนหรือน้อยกว่านี้ และสามารถเรียนจบคอร์สได้ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตเมื่ออยู่ในประเทศแคนาดา
หมายเหตุ: หากหลักสูตรหรือโปรแกรมที่เรียนมีระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน และผู้เรียนต้องการเรียนต่อในหลักสูตรหรือโปรแกรมอื่น ผู้เรียนควรสมัครขอ Study Permit ก่อนเข้าประเทศแคนาดา การทำแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถขอขยายระยะเวลาการอยู่ในประเทศแคนาดาในฐานะนักเรียนได้ ไม่เช่นนั้นผู้เรียนจะต้องขอ Study Permit จากนอกประเทศแคนาดา
ขั้นตอนในการยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียนแคนาดา (Study Permit)
- สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยที่แคนาดาที่เป็น Designated Learning Institute และได้รับเอกสารตอบรับ (Acceptance Letter) โดยต้องมีหัวจดหมายอย่างเป็นทางการ ระบุค่าธรรมเนียมการศึกษาที่แท้จริง วันคาดการณ์เริ่มเรียนและวันเรียนจบและวันที่ต้องลงทะเบียน
- ตรวจสอบว่าต้องสมัครวีซ่านักเรียนเพื่อเรียนต่อในประเทศแคนาดาหรือไม่
ผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้ที่นี่ ว่าตนเองต้องสมัครวีซ่านักเรียนสำหรับเรียนต่อประเทศแคนาดาหรือไม่
บุคคลต่อไปนี้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียนประเทศแคนาดา
-
- บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวหรือสมาชิกของเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนต่างประเทศในประเทศแคนาดา ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ การค้าและการพัฒนาของแคนาดา (Department of Foreign Affairs, Trade and Development Canada)
- บุคคลที่ลงทะเบียนเรียนระยะเวลาสั้นกว่า 6 เดือน
- บุคคลที่เป็นสมาชิกของกองกำลังต่างชาติ (Foreign Armed Forces) จากพระราชบัญญัติกองกำลังการเยี่ยมดูงาน (Visiting Force Act.)
- บุคคลที่เป็นประชากรของประเทศอื่น แต่ลงทะเบียนสถานะบุคคลอินเดียในประเทศแคนาดา
วีซ่านักเรียนแคนาดาหรือที่รู้จักในนาม Study Permit/Visa ไม่ได้มีสถานะเหมือนวีซ่าทั่วไปที่อนุญาตให้ผู้ถือวีซ่าเดินทางเข้าประเทศแคนาดาได้ ผู้ถือจะต้องสมัครวีซ่าเดินทางหรือ an Electronic Travel Authorization (eTA)
- เริ่มการสมัครเพื่อขอวีซ่านักเรียนแคนาดา
เมื่อได้รับเอกสารตอบรับ Acceptance Letter จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาแล้ว จะต้องทำการสมัครวีซ่านักเรียนหรือที่รู้จักกันในนาม Study Permit ต่อ
ขั้นตอนแรกสำหรับการสมัครวีซ่านักเรียน คือ
-
- สมัครออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ของ Citizenship and Immigration Canada (CIC)
- หากไม่สามารถส่งเอกสารทางออนไลน์ได้ ผู้สมัครสามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปยังสถานทูตได้
- ยื่นเอกสารตอบรับ Acceptance Letter ที่ได้จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลของแคนาดา หรือ Designated Learning Institution
- ยื่นหลักฐานรับรองว่าผู้สมัครไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน ขอได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Police Certificate for Security Checks)
- ยื่นหลักฐานบันทึกทางการแพทย์ที่แสดงว่าผู้สมัครมีสุขภาพที่ดี หรืออาจต้องแนบเอกสารการตรวจสุขภาพด้วย (Immigration Medical Examination)
จากระเบียบการขอวีซ่าล่าสุด ถ้าผู้สมัครมีสมาชิกในครอบครัวที่กำลังทำงานหรือสมัครใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในประเทศแคนาดา ใบสมัครของผู้สมัครสำหรับ Study Permit จะได้รับการดำเนินการในสองสัปดาห์ ผู้สมัครอาจจะต่อหรือขยาย Study Permit ได้ ถ้า
-
- ผู้สมัครต้องการเรียนต่อ
- โปรแกรมเรียนของผู้สมัครได้รับการขยาย
- ผู้สมัครเปลี่ยนมหาวิทยาลัย
Study Permit จะหมดอายุใน 90 วันหลังจากเรียนจบแล้ว (หลังจากได้รับแจ้งเรียนจบหลักสูตร) ผู้ถือวีซ่าจะสามารถพำนักอยู่ในประเทศแคนาดาเพื่อเดินทาง สำรวจ หรือสมัคร Work Permit ซึ่งอนุญาตให้ทำงานเต็มเวลา งานพาร์ทไทม์ หรือแม้แต่ประกอบอาชีพอิสระ (Self-employed) ได้
- เตรียมเอกสารที่ใช้ในการสมัครวีซ่านักเรียนประเทศแคนาดา
-
- กรอกฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียน (Student Permit Application Form)
- ฟอร์ม IMM 1294 – Application for Study Permit made Outside of Canada
- ฟอร์ม IMM 5707 – Family Information Form กรอกแบบฟอร์มข้อมูลสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อและวันที่
- ฟอร์ม IMM 5483 – Document Checklist รายการเช็คลิสต์ของเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้อง
- ฟอร์ม IMM 5409 – Statutory Declaration of Common-law Union หากผู้สมัครมีบุคคลที่อยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยานานเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และได้แจ้งสถานภาพของตนเองว่า Common-law ในแบบฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่า ผู้สมัครจะต้องกรอกเอกสารนี้เพิ่มและแนบหลักฐานสนับสนุน เช่น สมุดบัญชีร่วมกัน เพื่อยืนยันความสัมพันธ์นั้น
- ฟอร์ม IMM 5476 – Use of a Representative ผู้สมัครจะกรอกฟอร์มนี้ก็ต่อเมื่อมีการใช้บริการตัวแทนในการดำเนินการขอวีซ่าแทนตนเอง
- ฟอร์ม IMM 5475 – Authority to Release Personal Information to a Designated Individual ผู้สมัครจะกรอกฟอร์มนี้ก็ต่อเมื่อได้มอบอำนาจให้หน่วยงาน Citizenship and Immigration Canada (CIC) กับ Canada Border Services Agency (CBSA) ได้แบ่งปันหรือโอนข้อมูลของตนเองไปให้ผู้อื่นนอกเหนือจากตนเองรับรู้
- ฟอร์ม IMM 5646 – Custodianship Declaration – Custodian for Minors Studying in Canada ฟอร์มนี้สำหรับผู้เรียนที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
- เอกสารตอบรับตัวจริงจากมหาวิทยาลัย (Original Acceptance Letter)
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่ยังมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
- หลักฐานการสนับสนุนทางการเงินของผู้สมัครระหว่างเรียนในประเทศแคนาดา
- กรอกฟอร์มยื่นคำร้องขอวีซ่านักเรียน (Student Permit Application Form)
โดยผู้เรียนจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเองจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่เพียงพอตลอดช่วงระยะเวลาที่อยู่ในประเทศแคนาดา และหลักฐานทางการเงินนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศไทยและแคนาดาสำหรับตนเองและสมาชิกครอบครัวที่ติดตามและค่าครองชีพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว จากไกด์ไลน์ของหน่วยงาน Citizenship and Immigration Canada ได้ประมาณการค่าครองชีพต่อปีของผู้สมัครไว้ที่ $10,000 CAD สถานทูตแคนาดาร้องขอเอกสารเพื่อสนับสนุนทางการเงินดังต่อไปนี้
-
-
- สมุดบัญชีธนาคารหรือรายการเดินบัญชีทางการเงินของสปอนเซอร์ ย้อนหลัง 6 เดือน
- จดหมายชี้แจงที่มาทางการเงินของสปอนเซอร์
- เอกสารเพื่อสนับสนุนหลักฐานที่มาทางการเงินของสปอนเซอร์ เช่น จดหมายรับรองการทำงานที่ระบุระยะเวลาการจ้างงาน ตำแหน่ง และเงินเดือนรวมถึงสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่นๆที่ได้รับจากบริษัท จดหมายรับรองการจดทะเบียนธุรกิจ เอกสารการเสียภาษี เป็นต้น
- จดหมายยืนยันการสนับสนุนทางการเงินจากสปอนเซอร์ ชี้แจงเจตนาในการสนับสนุนนักเรียนตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษาในประเทศแคนาดา
- หลักฐานยืนยันความสัมพันธ์กับสปอนเซอร์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส
- เอกสารอื่นที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของสปอนเซอร์ เช่น บัญชีตลาดหุ้น เอกสารธุรกรรมทางธุรกิจหรืออสังหาริมทรัพย์ เอกสารเหล่านี้จะต้องไม่ถูกแทนที่เอกสารที่ร้องขออื่นๆก่อนหน้า ในกรณีที่ไดรับทุนการศึกษาจะต้องยื่นเอกสารฉบับจริงจากหน่วนงานที่ให้ทุนการศึกษาพร้อมระบุจำนวนเงินที่จะสนับสนุนผู้เรียนในแต่ละปีการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับด้วย
-
การมียอดเงินฝากก้อนใหญ่ที่เข้ามาในบัญชีจะต้องอธิบายแหล่งที่มาของเงินก้อนนั้นด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าการเงินไม่มีความน่าเชื่อถือ และผู้สมัครหรือครอบครัวของผู้สมัครจะต้องแสดงความพร้อมในการมีทุนทรัพย์ที่ครอบคลุมค่าการศึกษาและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการศึกษาต่อต่างประเทศ หลักฐานทางการเงินที่เพียงพอชำระแค่ค่าธรรมเนียมการศึกษาเท่านั้นอาจทำให้วีซ่าของผู้สมัครถูกปฏิเสธได้
-
- จดหมายชี้แจงเจตนา (A letter of intent/Statement of Purpose) หรือแผนการเรียน (Study Plan)
ผู้สมัครจะต้องทำการเขียน Study Plan ขึ้นมาด้วยตนเองและมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษและต้องชี้แจงถึงหัวข้อดังต่อไปนี้ ได้แก่
-
-
- เหตุผลในการเรียนต่อที่ประเทศแคนาดาในหลักสูตรหรือโปรแกรมที่ผู้สมัครได้รับการตอบรับเข้าเรียน
- เป้าหมายในการเรียน
- เหตุผลว่า Diploma หรือ Degree ที่ได้รับจากประเทศแคนาดาจะสร้างโอกาสในการทำงานให้ผู้สมัครได้อย่างไร
-
-
- หลักฐานทางการเรียนปัจจุบันและที่ผ่านมา
หากผู้สมัครสำเร็จการศึกษาแล้วต้องแนบเอกสารทรานคริปต์ล่าสุด และใบเกียรติบัตร วุฒิบัตรสำเร็จการศึกษา (Diploma หรือ Certificate) จากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
หากผู้สมัครยังไม่สำเร็จการศึกษาให้ใช้เอกสารทรานคริปต์ที่ล่าสุด พร้อมกับเอกสารคาดว่าจะจบและเอกสารรับรองการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
-
- หากผู้สมัครวางแผนเรียนต่อที่เมือง Quebec จะต้องแสดงเอกสาร Certificat d’acceptation du Québec และแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยต้องรับรองจากนักแปลและแนบสำเนาเอกสารที่ได้รับการรับรอง
- หลักฐานรับรองว่าผู้สมัครไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม (Police Certificate) มาก่อน ขอได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากผู้สมัครหรือสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามเคยถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญา จะต้องยื่นเอกสารรับรองตัวจริงจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเขียนอธิบายเหตุผลส่วนตัวว่าทำไมถึงเคยถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญานั้น
- หลักฐานแสดงการชำระค่าธรรมเนียม Study Permit Fee (150 CAD) โดยผู้สมัครสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้
หมายเหตุ: เอกสารทั้งหมดที่ไม่ได้ออกเป็นภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสจะต้องได้รับการแปลและรับรองให้ถูกต้องจาก Certified Translator และต้องรับรองสำเนาถูกต้องของเอกสารต้นฉบับทุกเอกสารด้วย และเอกสารที่รับรองทุกฉบับจะต้องระบุข้อความต่อไปนี้
-
-
- I certify that this is a true copy pf the original document
- ชื่อของเอกสารต้นฉบับ
- วันที่รับรอง
- ชื่อผู้รับรอง ตำแหน่งผู้รับรองและลายเซ็นต์ของผู้รับรอง
-
- ข้อกำหนดทางด้านภาษาที่ใช้ในการศึกษาต่อประเทศแคนาดา
ผู้สมัครจะต้องมีหลักฐานแสดงทักษะภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
-
- IELTS Academic; Bachelor’s/Diploma/Certificate require IELTS 6.0/6.5 with no band less than 5.5และ Post-graduate/Master require IELTS 6.5 overall with no bands less than 6.0
- TOEFL iBT
- PTE Academic
- C1 Advanced
- การนัดทำไบโอเมตริกซ์และสัมภาษณ์
การนัดทำไบโอเมตริกซ์
ผู้สมัครจะต้องทำนัดกับ Visa Application Centre ในประเทศของตนเองเพื่อเก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์ ค่าธรรมเนียมการเก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์ต่อคนอยู่ที่ $CAN 85 หรือประมาณ 2,040 บาท โดยข้อมูลนี้จะถูกเก็บทุก 10 ปีและเมื่อได้รับจดหมายแจ้งให้ไปทำไบโอเมตริกซ์ จะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน
สถานที่ในการทำไบโอเมตริกซ์
Visa Application Centre – Bangkok Office
The Trendy Office Building, 10/198-201, 28th Floor
Sukhumvit Soi 13, Klongtoey-Nua, Wattana, Bangkok 10110
วันทำการ: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา: 09:00 – 17:00 น.
การสัมภาษณ์
ผู้สมัครจะเข้าสัมภาษณ์ก็ต่อเมื่อได้รับจดหมายแจ้งจากสถานทูตซึ่งในจดหมายจะระบุวันเวลาและสถานที่สำหรับสัมภาษณ์ และในระหว่างการสัมภาษณ์ผู้สมัครอาจได้รับการร้องขอเอกสารเพิ่มเติมจากผู้สัมภาษณ์ เอกสารที่ขออาจเป็นเอกสารที่ยืนยันคุณสมบัติในการเรียนหรือทางการเงินของผู้สมัคร เช่น
-
- ทรานคริปต์ ประกาศนียบัตร วุฒิบัตรการศึกษาที่ผ่านมา
- ผลทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL, SAT, GRE หรือ GMAT
- เจตนาหรือความตั้งใจที่จะเดินทางออกจากประเทศแคนาดาหลังจากเรียนจบ
- การวางแผนการชำระค่าเรียนทั้งหมด ค่าครองชีพและค่าเดินทาง
สถานที่ในการสัมภาษณ์
สถานทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย (Canada Embassy in Thailand)
ที่ตั้ง: ชั้น 15 อาคารอับดุลราฮิม ถนนพระราม 4 (ตรงข้ามสวนลุมพินี)
แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
เบอร์โทรศัพท์: +66 (0) 2646 4300 โทรสาร: +66 (0) 2646 4336
เว็บไซต์: www.canadainternational .gc.ca/Thailand-thailande/
อีเมล: bngkk@international.gc.ca, Bangkok-im-enquiry@international.gc.ca
วันทำการ: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา: 09:00 – 12:00 น.
- ระยะเวลารอผลตัดสิน Canadian Study Permit
หลังจากสมัคร Canadian Study Permit แล้วระยะเวลาในการรอวีซ่าอาจนานสูงสุดถึง 90 วัน
หากผลการพิจารณาคือผู้สมัครได้รับการอนุมัติตอบรับคำร้อง เอกสารแสดงเอกลักษณ์และหนังสือเดินทางของผู่สมัครจะได้รับการส่งคืนจากเจ้าหน้าที่พร้อมกับจดหมายแนะนำ (Letter of Introduction) เพื่อยืนยันการอนุญาต
หากผลการพิจารณาคือผู้สมัครถูกปฏิเสธการยื่นคำร้อง หลักฐานตัวจริงทั้งหมดรวมทั้งหนังสือเดินทางจะได้รับการส่งคืนจากเจ้าหน้าที่รวมถึงเหตุผลที่ถูกปฏิเสธ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าผู้สมัครส่งเอกสารที่เป็นเท็จจะไม่คืนเอกสารนั้นให้กับผู้สมัคร
การได้รับ Study Permit
หากการสมัครวีซ่าได้รับผลตัดสินวีซ่าผ่านแล้ว ผู้ถือวีซ่าจะได้รับจดหมายแนะนำ (Letter of Introduction) ซึ่งไม่ใช่ Study Permit และจะต้องพกเอกสารนี้ติดตัวตอนเดินทางเข้าประเทศแคนาดา
การมี Letter of Introduction ไม่สามารถทำให้ผู้สมัครสามารถเดินทางเข้าไปประเทศแคนาดาทันทีได้ ผู้สมัครที่มาจากประเทศไทยจะต้องมี Visitor Visa หรือ Temporary Resident Visa (TRV) ในการเดินทางเข้าประเทศแคนาดาด้วย ทางสถานทูตจะออกวีซ่า TRV นี้ให้อัตโนมัติเมื่อตอนยื่นคำร้องขอ Study Permit โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอแยกอีกครั้ง
เมื่อเดินทางถึงประเทศแคนาดาแล้ว ผู้สมัครจะได้รับการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ของ Canada Border Services Agency ซึ่งจะเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองเอกสารต่อไปนี้
- จดหมายแนะนำจากเจ้าหน้าที่วีซ่า (Letter of Introduction from the Visa Office)
- วีซ่าพำนักชั่วคราว (Temporary Resident Visa)
- หนังสือเดินทางหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันที่ยังมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน
- จดหมายตอบรับจากสถาบันการศึกษา (Letter of Acceptance from the education institute)
- หลักฐานทางการเงิน
เมื่อเอกสารได้รับการรับรองแล้ว เจ้าหน้าที่จะมอบ Study Permit ให้ การที่มี Letter of Introduction ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการการันตีการได้รับ Study Permit เจ้าหน้าที่เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดสามารถตัดสินในขั้นสุดท้ายได้ว่าจะให้หรือปฏิเสธ Study Permit และจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ถือวีซ่าสามารถอยู่ในประเทศแคนาดาได้
หากมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลวันเรียนที่ระบุในจดหมายที่ยื่นคำร้องขอ Study Permit และวันที่ผู้สมัครเดินทางเข้าถึงประเทศแคนาดาหรือมีข้อมูลที่ไม่ตรงกับเอกสารตัวจริงที่เจ้าหน้าที่วีซ่ามี ผู้สมัครอาจถูกปฏิเสธการเข้าประเทศแคนาดา
ในกรณีที่ผู้สมัครได้ทำการเก็บข้อมูล Biometric ของตนเองตอนยื่นคำร้อง เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจอาจตรวจเอกสารการเดินทางของผู้สมัครและเปรียบเทียบกับรูปถ่ายที่ถ่ายตอนสมัครและอาจขอให้ผู้สมัครทำการสแกนลายนิ้วมือเพื่อเทียบกับลายนิ้วมือที่เก็บจากตอนยื่นคำร้อง
เงื่อนไขของ Study Permit ที่ควรทราบ
- ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานขณะที่เรียนได้ โดยไม่ต้องมี Work Permit และสามารถทำได้ทั้งใน (On-Campus) และนอก (Off-Campus) รั้วสถาบันการศึกษาของตนเอง
- ผู้ถือ Study Permit จะต้องรักษาสถานภาพการเรียนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- หากผู้ถือ Study Permit ไม่รักษาสถานภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาของตนเองอาจถูกยกเลิกวีซ่าและต้องออกจากประเทศแคนาดา
- Citizenship and Immigration Canada (CIC) จะขอรายงานจากสถาบันการศึกษาของคุณอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของผู้ถือวีซ่า
สำหรับนักเรียนที่โรงเรียนหลักสูตร Post-Secondary Study หรือระดับอุดมศึกษาขึ้นไป หน่วยงาน Designated Learning Institution จะเป็นผู้รายงานการลงทะเบียนเรียนและสถานะการเรียนของนักเรียนให้ Immigration ทราบ และเจ้าหน้าที่อาจจะกำหนด เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกเงื่อนไขของ Study Permit ของผู้ถือวีซ่าได้ เงื่อนไขเหล่านั้นได้แก่
- ประเภทของหลักสูตรที่ผู้เรียนลงทะเบียนเรียน
- ชื่อสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนเข้าเรียน
- สถานที่ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา
- เวลาและระยะเวลาการเรียน
- เวลาและสถานที่ที่ผู้ถือวีซ่าต้องไปตรวจสุขภาพ
- เวลาและสถานที่ที่ผู้ถือวีซ่าควรรายงานหลักฐานที่เป็นปัจจุบันของการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เหมาะสม
- เงื่อนไขการทำงานที่แจ้งมาพร้อมกับ Study Permit
- ข้อห้ามในการเข้าร่วมการทำงาน
- ระยะเวลาในการพำนักในประเทศแคนาดา
ระยะเวลาวีซ่าของ Study Permit
Study Permit จะหมดอายุอัตโนมัติภายใน 90 วันหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการเรียนของผู้ถือวีซ่า ถ้าผู้ถือวีซ่าย้ายไปเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้นกว่าหรือเรียนจบเร็วขึ้น ระยะเวลาของ Study Permit ก็จะหมดอายุภายใน 90 วันหลังจากหลักสูตรเรียนสิ้นสุดด้วย หลักสูตรจะถือว่าสิ้นสุดแล้วเมื่อสถาบันการศึกษาได้ออกจดหมายหรือมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เรียน
ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่
นักเรียนต่างชาติสามารถทำงานภายใต้กฎหมายการทำงานของนักเรียนของหน่วยงาน Immigration, Refugees and Citizenship Canada ประเภทของงานได้แก่ Work on campus, Work off campus และ Work as a co-op student or intern แต่นักเรียนจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่ Immigration ของประเทศแคนาดากำหนด ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก
ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานในแคมปัสโดยไม่มี Work Permit ได้หรือไม่
หากผู้ถือ Study Permit ยังมีระยะเวลาที่ยังไม่หมดอายุและเป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลาในสถาบัน Post-secondary DLI เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน (Community College) หรือ collège d’enseignement général et professionnel (CEGEP) โรงเรียนเทคนิคหรือการค้าของรัฐบาล หรือ สถานศึกษาเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกฎหมายท้องถิ่นให้ออกปริญญาบัตรได้ จะสามารถทำงานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆได้ (On campus) นายจ้างอาจจะเป็นโรงเรียนหรือเอกชนที่ดำเนินการอยู่ในสถาบันการศึกษานั้น
ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานนอกแคมปัสโดยไม่มี Work Permit ได้หรือไม่
ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานนอกแคมปัสโดยไม่มี Work Permit ได้สูงสุด 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ และสามารถทำงานแบบเต็มเวลา (Full-time) ในช่วงปิดเทอมได้ โดยมีเงื่อนไขว่า
- นักเรียนจะต้องถือ Study Permit ที่ยังไม่หมดอายุ
- เป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลาในสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลแคนาดาหรือ Designated Learning Institution
- หลักสูตรที่ลงเรียนจะต้องเป็นระดับ Post-secondary หรือสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้แก่ วิชาชีพหรือหลักสูตรอบรมอาชีพ หลักสูตรอบรมวิชาชีพในระดับ secondary level ที่เปิดสอนในรัฐ Quebec
- หลักสูตรนั้นจะต้องเรียนขั้นต่ำ 6 เดือนหรือระยะเวลานานกว่าและจะต้องสามารถออก ปริญญาบัตร อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรได้ (Degree, Diploma or Certificate)
- ผู้ถือ Study Permit จะต้องรักษาสถานภาพการเป็นนักเรียนและเงื่อนไขที่ระบุใน Study Permit ของตนเช่นเดียวกับเงื่อนไขการทำงานนอกแคมปัส เช่น ไม่ทำงานเกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงเปิดเรียนปกติ เป็นต้น
ผู้ถือ Study Permit สามารถทำงานของโปรแกรม Co-op Internship ได้หรือไม่
นักเรียนต่างชาติจะสามารถทำงานในโปรแกรมของ Co-op ได้ก็ต่อเมื่องานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนใน Academic, Professional or Vocational Training Program ที่ออกโดย DLI และนักเรียนจะสามารถทำงานได้เมื่อมี Co-op Work Permit เท่านั้น
นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร English or French as a second language (ESL/FSL) หรือเรียน Preparatory courses จะไม่สามารถสมัครขอ Co-op Work Permit ได้
วีซ่านักเรียนแคนาดาต้องตรวจสุขภาพหรือไม่
หากเรียน 6 เดือนหรือน้อยกว่า 6 เดือนไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ แต่ถ้าเรียนนานกว่า 6 เดือนจะต้องทำการตรวจสุขภาพ (Immigration Medical Exam: IME) ก่อนนักเรียนจะเดินทางไปตรวจสุขภาพด้วยตนเองกับแพทย์หรือรอจนคำร้องขอวีซ่าได้รับการพิจารณาและได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่พิจารณาวีซ่าให้ไปตรวจสุขภาพ
สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร: 090-327 3558, 088-269 5099
Email: contact@thebest-edu.com
Line: @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ
ข้อกำหนดทางด้านการเงิน
หลักฐานทางการเงินคือหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าผู้สมัครมีทุนทรัพย์ที่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของตนหรือสมาชิกในครอบครัวที่ติดตามตนไปเมื่ออยู่ในประเทศแคนาดา สำหรับจำนวนเงินที่ต้องแสดงกับทางสถานทูตนั้น หากผู้สมัครลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลารวมกันนานกว่า 1 ปี สถานทูตจะพิจารณาเฉพาะค่าใช้จ่ายในปีแรกเท่านั้น และหากลงเรียนในหลักสูตรที่ต่ำกว่า 1 ปีก็จะพิจารณาตามจำนวนเดือนที่ผู้สมัครหรือผู้ติดตามจะอยู่ในประเทศแคนาดาเท่านั้น
โดยหลักฐานทางการเงินและจำนวนเงินนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ค้างชำระในปีแรก ค่าครองชีพ ค่าที่พัก และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศต้นทางและประเทศแคนาดา
ค่าครองชีพปัจจุบันกำหนดต่อปีของแต่ละผู้สมัครวีซ่าเป็นดังนี้
ค่าครองชีพนอกเมือง Quebec
บุคคลที่เข้าประเทศแคนาดา | ค่าครองชีพต่อปี | ค่าครองชีพต่อเดือน |
นักเรียน | CAD$10,000 | CAD$833 |
สมาชิกในครอบครัวที่ติดตาม | CAD$4,000 | CAD$333 |
สมาชิกเพิ่มเติมในครอบครัวที่ติดตาม | CAD$3,000 | CAD$255 |
ค่าครองชีพในเมือง Quebec
บุคคลที่เข้าประเทศแคนาดา | ค่าครองชีพต่อปี | ค่าครองชีพต่อเดือน |
นักเรียน | CAD$11,000 | CAD$917 |
สมาชิกในครอบครัวที่ติดตามคนแรก (อายุ 18 ปีหรือมากกว่า) | CAD$5,100 | CAD$425 |
สมาชิกในครอบครัวที่ติดตามคนแรก (อายุน้อยกว่า 18 ปี) | CAD$3,800 | CAD$317 |
สมาชิกในครอบครัวผู้ติดตามคนถัดไป (อายุ 18 ปีหรือมากกว่า) | CAD$5,125 | CAD$427 |
สมาชิกในครอบครัวผู้ติดตามคนถัดไป (อายุน้อยกว่า 18 ปี) | CAD$1,903 | CAD$159 |
สำหรับค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศแคนาดาและประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ CAD$ 3,000 ต่อคน
ตัวอย่างการคำนวณยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องแจ้งสถานทูต
จำนวนเงินที่แสดงนั้นจะต้องครอบคลุมค่าธรรมเนียมการศึกษา* ค่าที่พักและค่าครองชีพ และค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับประเทศไทยและประเทศแคนาดาด้วย
ระยะเวลาเรียน | ค่าครองชีพและที่พัก | ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ TH-CAD | ยอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดงให้สถานทูต |
3 เดือน | CAD$833 x 3 = CAD$2,499
ประมาณ 59,976 บาท |
CAD$3,000
ประมาณ 72,000 บาท |
CAD$5,499 ประมาณ 131,976 บาท |
6 เดือน | CAD$833 x 6 = CAD$4,998
ประมาณ 119,952 บาท |
CAD$3,000
ประมาณ 72,000 บาท |
CAD$7,998 ประมาณ 191,952 บาท |
9 เดือน | CAD$833 x 9 = CAD$7,497
ประมาณ 179,928 บาท |
CAD$3,000
ประมาณ 72,000 บาท |
CAD$10,497 ประมาณ 251,928 บาท |
12 เดือน | CAD$10,000
ประมาณ 240,000 บาท |
CAD$3,000
ประมาณ 72,000 บาท |
CAD$13,000 ประมาณ 312,000 บาท |
คำแนะนำจากเดอะเบสท์
ยอดเงินข้างต้นเป็นยอดเงินขั้นต่ำที่ทางสถานทูตได้กำหนดให้แสดง ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ แนะนำให้แสดงหลักฐานทางการเงินให้มากกว่ายอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดง 1.5 – 2 เท่า เพื่อแสดงถึงเสถียรภาพทางการเงินของผู้สนับสนุน เช่น
ระยะเวลาเรียน | ยอดเงินขั้นต่ำที่ควรแสดง | กรณีแสดงมากกว่าที่กำหนด 1.5 เท่า | กรณีแสดงมากกว่าที่กำหนด 2 เท่า |
3 เดือน | CAD$5,499 ประมาณ 131,976 บาท |
CAD$5,499 x 1.5 = CAD$8,248.5 ประมาณ 197,964 บาท |
CAD$5,499 x 2 = CAD$10,998 ประมาณ 263,952 บาท |
6 เดือน | CAD$7,998 ประมาณ 191,952 บาท |
CAD$7,998 x 1.5 = CAD$11,997 ประมาณ 287,928 บาท |
CAD$7,998 x 2 = CAD$15,996 ประมาณ 383,904 บาท |
9 เดือน | CAD$10,497 ประมาณ 251,928 บาท |
CAD$10,497 x 1.5 = CAD$15,745.5 ประมาณ 377,892 บาท |
CAD$10,497 x 2 = CAD$20,994 ประมาณ 503,856 บาท |
12 เดือน | CAD$13,000 ประมาณ 312,000 บาท |
CAD$13,000 x 1.5 = CAD$19,500 ประมาณ 468,000 บาท |
CAD$13,000 x 2 = CAD$26,000 ประมาณ 624,000 บาท |
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้คำนวณคือ CAD$ 1 หรือ 1 Canadian Dollar มีค่าประมาณ 24 บาท
ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่านักเรียนแคนาดา
Spouse และ Common-law Partner แตกต่างกันอย่างไร
Spouse คือ คู่ครอง คู่แต่งงานหรือคู่สมรส ตามกฎหมายของประเทศแคนาดาให้คำนิยามว่าคือบุคคลสองบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่ได้ทำการสมรสตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง
Common-law Partner คือ บุคคลหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับอีกบุคคลหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกัน และได้มีการคบหากันมานานกว่า 1 ปี ความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยานั้นปรากฎเมื่อมีข้อตกลงร่วมกันที่สำคัญระหว่างสองบุคคลเกิดขึ้น หลักฐานที่สนับสนุนความสัมพันธ์นี้ได้แก่ หลักฐานการพักอาศัยร่วมกัน หลักฐานการสนับสนุนทางการเงินหรือทางอารมณ์ หลักฐานการมีบุตรร่วมกัน หรือหลักฐานการไปปรากฎตัวในที่สาธารณะในฐานะคู่ครองร่วมกัน
สำหรับคู่ครองแบบ Common-law ที่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยามาอย่างน้อย 1 ปีแต่ไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้หรือไม่สามารถปรากฎตัวในที่สาธารณะด้วยกันได้จากเหตุผลด้านข้อกำหนดทางกฎหมายในประเทศของตนหรืออาจถูกแยกจากกันด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งทางกองทัพหรือทหารสามารถสมัครวีซ่าได้
หากสมาชิกในครอบครัวต้องการสมัครวีซ่าและติดตามนักเรียนต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าแยกหรือไม่
สมาชิกในครอบครัวจะต้องกรอกข้อมูลคำร้องของตนเองให้ครบถ้วน แต่สามารถยื่นคำร้องพร้อมกับผู้สมัครวีซ่านักเรียนผ่านทางออนไลน์หรือ Visa Application Centre (VAC) และชำระเงินพร้อมกันได้ในหนึ่งใบเสร็จรับเงิน โดยมีเงื่อนไขว่าสมาชิกในครอบครัวนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอ Temporary Residence ของประเทศแคนาดา
หากบุตรของผู้สมัครต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาจะต้องทำอย่างไร
บุตรของผู้สมัครที่ต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาจะต้องยื่นคำร้องขอ Study Permit ของตนเองพร้อมกับผู้สมัคร หรือหากบุตรต้องการมาเรียนที่แคนาดาหลังจากที่ผู้สมัครได้รับวีซ่าและอยู่ในประเทศแคนาดาแล้ว บุตรจะต้องยื่นคำร้องขอ Study Permit ของตนเองก่อนเข้าประเทศแคนาดา
Custodians คือใคร
เด็กที่มีอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่า 17 ปีและต้องการเรียนต่อในประเทศแคนาดาโดยไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองตามกฎหมายติดตาม จะต้องมีผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กนักเรียนนั้นในประเทศแคนาดาด้วย โดยจะเรียกบุคคลที่ดูแลเด็กว่า Custodian พ่อแม่หรือผู้ปกครองตามกฎหมายในประเทศที่เด็กเป็นพลเมืองและ Custodian ของเด็กในประเทศแคนาดาจะต้องรับรองและกรอกฟอร์ม IMM 5646 – Custodianship Declaration พร้อมยื่นฟอร์มตอนสมัครวีซ่าด้วย
Custodian จะต้องพำนักอยู่ที่ประเทศแคนาดาและเป็นพลเมืองแคนาดาหรือผู้มีถิ่นพำนักถาวรในแคนาดา (Permanent Resident) บุคคลที่เป็น Custodian จะต้องมีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป
การที่นักเรียนที่มีอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่าเดินทางกับผู้ปกครองคนเดียวสามารถเดินทางได้ โดยไม่จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์ม Custodianship อย่างไรก็ตามควรมีการเซ็นต์ยินยอมจากผู้ปกครองอีกท่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย เช่น เดินทางกับคุณแม่ คุณพ่อควรเซ็นต์ยินยอมให้บุตรเดินทางพร้อมกับคุณแม่ด้วย
หากนักเรียนอายุ 17 ปีหรือต่ำกว่าต้องเดินทางคนเดียวจะทำอย่างไร
- ต้องแจ้งข้อมูลในการติดต่อผู้ดูแล (Custodian) ในประเทศแคนาดา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
- ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่นักเรียนจะเดินทางเข้าไปเรียน
- จดหมายอนุญาตจากพ่อแม่คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคน หรือจดหมายรับรองการดูแลจาก Custodian
ที่มา:
- Government of Canada Website: https://www.canada.ca/
- Immigration and Citizenship Website: https://www.cic.gc.ca/
- Study Portals Master Website: https://www.mastersportal.com/
- Thai-Canada Group Website: https://www.thai-canada.com/
- VFS Global Website: https://visa.vfsglobal.com/tha/en/can/apply-visa
ติดต่อเดอะเบสท์เพื่อสอบถามข้อมูลการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเติม
เดอะเบสท์ เป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร เราเป็นตัวแทนที่ให้บริการแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และ ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศทั่วโลก เรายินดีให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน จนสำเร็จการศึกษา รวมถึงดูแลนักเรียนระหว่างเรียนจนนักเรียนเรียนจบด้วยทีมผู้เชียวชาญในด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ขั้นตอนเหล่านี้เราดำเนินการให้ฟรี และเราพร้อมที่จะทำตามคุณภาพ และมาตรฐานดังสโลแกนที่ว่า “We are Quality”
บริการของเรามีอะไรบ้าง ?
- ฟรี!! บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศทุกระดับชั้นทั่วโลก เราให้คำแนะนำในการเรียนต่อต่างประเทศ ทุกระดับชั้น ทั่วโลก ตั้งแต่ โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม สถาบันวิชาชีพ และสถาบันในระดับอุดมศึกษา รวมถึงหลักสูตรภาษาต่างประเทศ และเลือกสถาบันที่ดีที่สุดให้กับผู้เรียน
- เราให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การประสานงานโรงเรียน เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เตรียมเอกสารสมัครเรียน และดำเนินเรื่องสมัครเรียนให้ฟรี
- บริการเตรียมเอกสารยื่นวีซ่าครบวงจร และบริการยื่นวีซ่ากว่า 25 ประเทศทั่วโลก พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าอย่างตรงจุด และแนะนำวิธีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์วีซ่า : เป้าหมายของเราคือต้องการให้ลูกค้าทุกท่านประสบความสำเร็จ
- บริการแปลเอกสาร ภาษาไทย – ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย รวมถึงภาษาที่ 3 ด้วยราคามิตรภาพ เริ่มต้นเพียงแผ่นละ 200 บาท
- บริการสมัครสอบ IELTS เดอะเบสท์ เป็นตัวแทนรับสมัครสอบ IELTS IDP อย่างเป็นทางการ พร้อมให้คำแนะนำ และนัดวันสอบให้โดยน้องๆ ไม่ต้องเสียเวลาสมัครเอง สมัครสอบได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- บริการซื้อประกันภัยการเดินทางและประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติ จากบริษัทประกันชั้นนำ MSIG, NIB, Allianz, Orbit และอื่นๆ
- บริการจองตั๋วเครื่องบิน ทุกสายการบิน และประสานงานกับสถาบันเกี่ยวกับรถรับ – ส่ง สนามบิน
- บริการจัดหาที่พักทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโฮมสเตย์ อพาร์ทเม้น หรือหอพักนักศึกษา จัดหาให้ตามความต้องการส่วนบุคคล
สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร: 090-327 3558, 088-269 5099
Email: contact@thebest-edu.com
Line: @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ