Your search results

เรียนต่อนิวซีแลนด์

เรียนต่อนิวซีแลนด์ – Study in New Zealand


ภาคการศึกษา เปิดเรียนเทอมไหนบ้าง

ระดับการศึกษา ปีการศึกษา

ประถม/มัธยมศึกษา

แบ่งภาคการศึกษาเป็น 4 เทอม ระหว่างเทอมจะปิดพัก 2 สัปดาห์ และต้องมีการสอนไม่น้อยกว่า 190 วัน ต่อปีการศึกษา

เทอม 1 กุมภาพันธ์ – เมษายน

เทอม 2 เมษายน – มิถุนายน

เทอม 3 กรกฎาคม – กันยายน

เทอม 4 ตุลาคม – ธันวาคม

วิทยาลัยโพลีเทคนิค

เปิดสอนเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม โดยมีวันหยุดในเดือนพฤษภาคมและสิงหาคม ส่วนใหญ่เปิดรับนักศึกษาใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์และกรกฎาคม

มหาวิทยาลัย

มีทั้งแบบ 2 เทอม และ 3 เทอม ใน 1 ปี ดังนี้

ระบบ 3 เทอม (Trimester) แบ่งเป็น มีนาคม-พฤษภาคม, มิถุนายน-สิงหาคม และ กันยายน – พฤศจิกายน

ระบบ 2 เทอม (Semester) แบ่งเป็น มีนาคม-มิถุนายน, กรกฎาคม-พฤศจิกายน

* ยกเว้น Victoria University of Wellington เปิดเป็นระบบ 3 เทอม หรือ Trimester ในปัจจุบัน*

วันหยุดภาคฤดูร้อน เริ่มกลางเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์และมีวันหยุดประมาณ 2-3 สัปดาห์ ในระหว่างเทอมหรือระหว่างภาคเรียน

ระบบการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์

โครงสร้างระบบการศึกษานิวซีแลนด์ สามารถแบ่งเป็นระดับต่างๆได้ ดังนี้

ระดับ ชั้น อายุ/ปี รายละเอียด
อนุบาล 3 – 5 การศึกษาระดับนี้ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ
ประถมศึกษา Year 1 – 6 5 – 10 การศึกษาภาคบังคับ
มัธยมศึกษา

ตอนต้น

Year 7 – 9 11 – 13

โรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่จะรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนใน Year 9 (ม.3 อายุ 13 ปี) บางโรงเรียนรับตั้งแต่ Year 7 (ม.1) นักเรียนระดับ Year 7-9 ถือเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จะเรียนวิชาบังคับพื้นฐาน อาทิ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา พลศึกษา ดนตรี ศิลปะ ส่วนวิชาเลือก ได้แก่ คหกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ

มัธยมศึกษาตอนปลาย Year 10 – 13 14 – 17

โรงเรียนมัธยมศึกษาในนิวซีแลนด์ประมาณ 400 แห่ง ทั้งโรงเรียนของรัฐบาล กึ่งรัฐบาล และเอกชน โรงเรียนแต่ละแห่งสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเอง แต่ต้องได้รับการรับรองคุณภาพจาก New Zealand Qualification

Authority (NZOA) นักเรียนระดับ Year 11-12 สามารถเลือกวิชาเลือกหรือวิชาสายอาชีพได้มากขึ้น และมีวิชาบังคับคือภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิชาเลือกควรเลือกวิชาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนปริญญาตรีสาขาที่สนใจ เช่น หากต้องการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ควรเลือกวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ เป็นตัน

สถาบันเทคโนโลยีและโพลีเทคนิค (New Zealand’s Institute of Technology and Polytechnics)

เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เปิดให้การศึกษาอบรมสายอาชีพ เน้นด้านอุตสาหกรรมธุรกิจและการพาณิชย์ มีสาขาวิชาให้เลือกมากถึง 150 สาขา มีหลักสูตรตั้งแต่ประกาศนียบัตร อนุปริญญา จนถึงปริญญาตรี และสามารถโอนหน่วยกิตเพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยได้

สถาบันเทคโนโลยีและโพลีเทคนิคมีทั้งหมด 17 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการอบมหลักสูตรสั้นๆ และหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษอีกด้วย

การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (University)

มหาวิทยาลัยในประเทศนิวซีแลนด์มีด้วยกันทั้งหมด 8 แห่ง และเป็นของรัฐบาลทั้งหมด มหาวิทยาลัยเหล่านี้กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ โดยอยู่ที่ เกาะเหนือ 5 แห่ง เกาะใต้ 3 แห่ง

ลำดับ เกาะ เมือง ชื่อมหาวิทยาลัย ด้านความเชี่ยวชาญ
1 เกาะเหนือ Auckland (โอ๊คแลนด์) The University of Auckland
  • แพทยศาสตร์์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • ภาษาศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • นิติศาสตร์
2 เกาะเหนือ Hamilton (แฮมิลตัน) The University of Waikato
  • การจัดการ
  • วิทยาศาสตร์
  • วิทยาการ
  • คอมพิวเตอร์
  • นิติศาสตร์
3 เกาะเหนือ Wellington (เวลลิงตัน) Victoria University of Wellington
  • สังคมศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นิติศาสตร์
4 เกาะเหนือ Auckland (โอ๊คแลนด์) Auckland University of Technology
  • สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  • ศิลปศาสตร์
  • การออกแบบและ
  • เทคโนโลยี
  • การท่องเที่ยว
  • การโรงแรม
  • บริหารธุรกิจ
5 เกาะเหนือ Palmerston North (พัลเมอร์สตันท์ นอร์ท)

Wellington (เวลลิงตัน)

Auckland (โอ๊คแลนด์)

Massey University
  • สัตวแพทยศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • เทคโนโลยีอาหาร
  • บริหารธุรกิจ
  • เกษตรศาสตร์
  • วนศาสตร์
6 เกาะใต้ Dunedin (ดะนีดิน) The University of Otago
  • แพทยศาสตร์
  • ทันตแพทยศาสตร์
  • เภสัชศาสตร์
  • จิตวิทยา
  • ภูมิศาสตร์
7 เกาะใต้ Christchurch (ไครสต์เชิร์ช) The University of Canterbury
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • ภาษาศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • วิจิตรศิลป์
8 เกาะใต้ Christchurch (ไครสต์เชิร์ช) Lincoln University
  • บริหารธุรกิจ
  • สิ่งแวดล้อม
  • ภูมิสถาปัตยกรรม
  • เกษตรศาสตร์
  • วนศาสตร์

 สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

สถาบันสอนภาษา

สถาบันสอนภาษาอังกฤษมีทั้งที่เป็นของเอกชนและที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเทคโนโลยีและโพลีเทคนิค ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลคุณภาพของหลักสูตรโดยเปิดสอนทั้งหลักสูตรระยะสั้น (ตั้งแต่ 4 สัปดาห์) และระยะยาว (1 ปี) ใช้วิธีการสอนที่ทันสมัยและส่วนใหญ่จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ตลอดทั้งปี

การเข้าเรียนภาษาอังกฤษในสถาบันสอนภาษาของมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนจะได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ทันทีมหาวิทยาลัยบางแห่งบังคับให้นักศึกษาทุกคนสอบ TOEFL หรือ IELTS อย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดก่อน แล้วจึงจะดำเนินการสมัครได้

การสมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา

ระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การสมัคร

นักเรียนไทยสามารถสมัครเข้าเรียนต่อจากชั้นสูงสุดที่จบจากประเทศไทยได้และสมัครเข้าเรียนได้ทุกเทอม นักเรียนที่ต้องเลื่อนชั้นควรเข้าเรียนต้นเทอม 1 หรือ 2 ทางโรงเรียนจะพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียนจากผลการเรียน อายุ พื้นฐานภาษาอังกฤษ แต่การรับนักเรียนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละโรงเรียน

สถาบันโพลิเทคนิค คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. อายุ 18 ปีขึ้นไป
  2. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.0 – 2.5/4.00
  3. ผลการสอบภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตร IELTS 5.0 หรือ TOEFL 500 และระดับอนุปริญญา คะแนน IELTS 5.5 หรือ TOFFL อย่างต่ำ 500 โดยไม่มีแบนด์ใดต่ำกว่า 5.0 หากเป็นระดับปริญญาตรี คะแนนคือ 6.0 – 6.5 โดยไม่มีแบนด์ใดต่ำกว่า 5.5 หรือ TOEFL 600

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัคร Download จาก Website ของสถานศึกษาและกรอกให้เรียบร้อย
  2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามแต่สถานศึกษาจะเรียกเก็บ
  3. หลักฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
  4. หนังสือรับรองอย่างน้อย 3 ฉบับ จากอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา
  5. จดหมายรับรองฐานะทางการเงินจากสถาบันการเงิน
  6. ผล IELTS/TOEFL
ระดับปริญญาตรี **ใช้ระยะเวลาเรียน 3 ปีขึ้นไป แล้วแต่หลักสูตร**

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากประเทศไทยต้องเข้าศึกษา Foundation Studies Program หรือ เข้าศึกษา Year 13 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาหรือ อนุปริญญาในสถาบันเทคโนโลยีและโพลีเทคนิค หรือสถาบันฝึกอบรมของเอกชนเป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงสมัครศึกษาต่อปริญญาตรี ในกรณีที่ผู้สมัครเป็นนักศึกษาจบชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยของประเทศไทย สามารถสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้โดยไม่ต้องเรียน Foundation Studies
  2. มีคะแนน TOEFL ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน (Internet-Based) หรือ IELTS 6.0 โดยไม่มีแบนด์ใดต่ำกว่า 5.5
  3. มีผลการเรียนไม่น้อยกว่า 2.75/4.00

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัคร Download จาก Website ของสถานศึกษาและกรอกให้เรียบร้อย
  2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามแต่สถานศึกษาจะเรียกเก็บ
  3. หลักฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีผลการเรียนไม่น้อยกว่า 2.75/4.00
  4. หนังสือรับรองอย่างน้อย 3 ฉบับ จากอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา
  5. จดหมายรับรองฐานะทางการเงินจากสถาบันการเงิน
  6. ผล TOEFL iBT ไม่น้อยกว่า 76 คะแนน หรือ ELTS 6.0 – 7.0 ขึ้นไป
  7. เรียงความประวัติส่วนตัวบอกจุดประสงค์ในการศึกษาต่อประมาณ 300 – 500 คำ
ระดับปริญญาโท **ใช้ระยะเวลาเรียน 1 – 2 ปี แล้วแต่หลักสูตร**

**การเรียนการสอนมีทั้งแบบหลักสูตรภาคบรรยาย (Course Work) และหลักสูตรภาควิจัย (Research) ปัจจุบันหลักสูตรภาคบรรยายเป็นที่นิยมเพราะเวลาเรียนสั้นกว่าทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย**

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. สำเร็จปริญญาตรี โดยมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75/4.00
  2. มีคะแนน TOEFL ไม่น้อยกว่า 90 คะแนน (Internet – Based) หรือ IELTS 6.5 โดยไม่มีแบนด์ใดต่ำกว่า 6.0
  3. บางสาขาจะต้องมีประสบการณ์การทำงานด้วย

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัคร Download จาก Website ของสถานศึกษาและกรอกให้เรียบร้อย
  2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามแต่สถานศึกษาจะเรียกเก็บ
  3. หลักฐานการสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี/ โท โดยมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.0/4.00
  4. หนังสือรับรองอย่างน้อย 3 ฉบับ จากอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา
  5. จดหมายรับรองฐานะทางการเงินจากสถาบันการเงิน
  6. ผล TOEFL ไม่น้อยกว่า 90 คะแนน (Internet -Based) หรือ IELTS 6.5 โดยไม่มีแบนด์ใดต่ำกว่า 6.0
  7. เรียงความปะวัติส่วนตัว บอกจุดประสงค์ในการศึกษาต่อประมาณ 300-500 คำ
ระดับปริญญาเอก **ใช้ระยะเวลาเรียนประมาณ 3 -5  ปี**

**การเรียนเน้นการค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง จึงควรมีพื้นฐานการทำวิจัยและมีพื้นความรู้ในวิชานั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง**

**การจะสำเร็จการศึกษาระดับนี้ ผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาเอกต้องผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาจากทั้งในประเทศนิวซีแลนด์และต่างประเทศ**

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. สำเร็จปริญญาโทสาขาเดียวกัน มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00/4.00
  2. มีคะแนน TOEFL ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน หรือ IELTS 6.0 – 7.0
  3. บางสาขาวิชาจะต้องมีประสบการณ์การวิจัยมาก่อน หากไม่มีสถานศึกษาอาจพิจารณาเข้าเรียนหลักสูตร Master Honors ก่อนแล้วจึงจะศึกษาต่อ Ph.D

เอกสารประถอบการสมัคร

  1. ใบสมัคร Download จาก Website ของสถานศึกษาและกรอกให้เรียบร้อย
  2. ค่าธรรมเนียมการสมัคร ตามแต่สถานศึกษาจะเรียกเก็บ
  3. หลักฐานการศึกษาปริญญาโทมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00/4.00
  4. หนังสือรับรองอย่างน้อย 3 ฉบับ จากอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา
  5. จดหมายรับรองฐานะทางการเงินจากสถาบันการเงิน
  6. ผล TOERL iBT ไม่น้อยกว่า 80 คะแนน หรือ IELTS 6.5-7.5
  7. เรียงความประวัติส่วนตัวบอกจุดประสงค์ในการศึกษาต่อประมาณ 300-500 คำ
  8. หัวข้อที่สนใจจะทำการวิจัย และผลงานวิจัยที่ผ่านมา

หมายเหตุ

  1. สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่จะศึกษาระดับปริญญาเอกที่ประเทศนิวซีแลนด์ คือ ทุกมหาวิทยาลัยจะเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาในอัตราเท่ากับนักศึกษาชาวนิวซีแลนด์
  2. กรณีที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ไม่ตรงกับสาขาวิชาที่จะศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทไม่ตรงกับสาขาวิชาที่จะศึกษาในระดับปริญญาเอก หรือขาดคุณสมบัติบางอย่างตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด อาจจะต้องเรียนหลักสูตร Postgraduate Certificate หรือ Postgraduate Diploma ก่อนเข้าศึกษาทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

การทำงานนอกเวลา

  1. ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน เรียนในหลักสูตรเต็มเวลาสามารถขอใบอนุญาตทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงปิดภาคการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ Immigration New Zealand ศึกษารายละเอียดการทำงานนอกเวลาเพิ่มเติมได้จาก www.nzstudywork.com
  2. ทุกครั้งที่ย้ายสถานศึกษานักเรียนต้องแจ้งให้ immigration New Zealand ทราบทันที และต้องส่งหนังสือรับรองจากสถาบันเดิมและสถาบันใหม่ไปที่ Student Section Immigration Division, Department of Labour, Private Bag, Wellington

การเทียบวุฒิการศึกษาของนิวซีแลนด์ในประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการประเทศไทยได้ประกาศเกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์เท่าการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ( ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 ) ต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

  1. สอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Education Achievement (NCEA) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA) จำนวนไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาใน Level 2 หรือ สูงกว่า จำนวนไม่ต่ำกว่า 60 หน่วยกิต และวิชาใน Level 1 หรือสูงกว่า จำนวนไม่ต่ำกว่า 20 หน่วยกิต การพิจารณาวิชาให้นับวิชา English for Speakers of Other Languages (ESOL) เป็นอีก 1 วิชาได้ ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA Level 2, ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับจำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก NZ ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อ 1 ดังกล่าวให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
  2. สำเร็จการศึกษาโดยสอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Education Achievement (NCEA) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ NZOAใน Level 2 หรือสูงกว่านี้ อย่างต่ำ 5 วิชาไม่ซ้ำกันนับจำนวนรวมไม่ต่ำกว่า 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่ English (Literacy) Level 2 หรือไม่ต่ำกว่านี้ อย่างน้อย 4 หน่วยกิต Mathematics (Numeracy) Level2 หรือไม่ต่ำกว่านี้อย่างน้อย 4 หน่วยกิต การพิจารณาวิชาไม่นับรวม วิชา English for Speakers of Other Languages (ESOL) ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับจำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิต แต่ละวิชาจาก NA ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อ 2 ดังกล่าวให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์

 สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

ที่มา: หนังสือสาระน่ารู้ OCSC Expo 2018

เรียนต่อนิวซีแลนด์ยนต่อนิวซีแลนด์ เรียนต่อนิวซีแลนด์ เรียนต่อนิวซีแลนด์ เรียนต่อนิวซีแลนด์ เรียนต่อนิวซีแลนด์

  • Advanced Search

Compare Listings