Your search results

เรียนต่อญี่ปุ่น

เรียนต่อญี่ปุ่น

(Study in Japan)


ภาคการศึกษา

ปีการศึกษาใหม่ของประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มในเดือน เมษายน และสิ้นสุดในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

โดยแบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาค ดังนี้ คือ

  • ภาคต้น ตั้งแต่      เดือนเมษายน – เดือนกันยายน
  • ภาคปลาย ตั้งแต่      เดือนตุลาคม – เดือนมีนาคม

ในส่วนของการปิดภาคการศึกษานั้น จะแตกต่างกันไปตามมหาวิทยาลัยหรือคณะ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีช่วงปิดภาคการศึกษา 3 ครั้งใน 1 ปี คือ

ปิดภาคฤดูร้อน                       ต้นเดือนกรกฎาคม – ปลายเดือนสิงหาคม

ปิดภาคฤดูหนาว                    ปลายเดือนธันวาคม – ต้นเดือนมกราคม

ปิดภาคฤดูใบไม้ผลิ              ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนเมษายน

หมายเหตุ: มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งที่มีการรับนักศึกษาเข้าเรียนในเดือนตุลาคมของการศึกษาภาคปลาย

ระบบการศึกษา

การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทย กล่าวคือมีการศึกษาในชั้นกลาง 12 ปี ตั้งแต่ระดับประถม 6 ปี มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี หลังจากนั้นจะมีให้เลือกเรียนในสายอาชีพ และระดับมหาวิทยาลัย โดยการศึกษาภาคบังคับจะเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 3) หรือตั้งแต่อายุ 6 ปี ถึงอายุประมาณ 14 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 9 ปี นักเรียนที่เรียนในการศึกษาภาคบังคับจะได้รับตำราเรียนฟรี คณะบริหารของโรงเรียนเป็นผู้เลือกตำราเรียนทุก ๆ สามปีโดยเลือกจากรายชื่อหนังสือที่กระทรวงการศึกษาได้รับรองแล้วหรือหนังสือที่กระทรวงจัดทำขึ้นเอง กระทรวงจะเป็นผู้รับภาระค่าตำราทั้งในโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชน ตำรามีขนาดเล็กใช้ปกอ่อนหุ้ม สามารถพกพาได้โดยง่ายและถือว่าเป็นสมบัติของนักเรียน

ตารางสรุปภาพรวมการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

อายุ (ปี) ระดับการศึกษา รายละเอียด
3 – 5 อนุบาล (3 ปี) แม้จะไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับแต่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะเข้าเรียนในชั้นนี้
6 – 11 ประถมศึกษา (6 ปี) การศึกษาภาคบังคับของประเทศญี่ปุ่น
12 – 14 มัธยมศึกษาตอนต้น (3 ปี) การศึกษาภาคบังคับของประเทศญี่ปุ่น
15 – 17 มัธยมศึกษาตอนปลาย (3 ปี)
18 – 21+ ปริญญาตรี (4 ปี+) ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ / ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งจะต้องใช้เวลา 6 ปี
21+ ปริญญาโท (2 ปี) จัดอยู่ในสถานศึกษาประเภทบัณฑิตวิทยาลัยระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 2 ปี
22+ ปริญญาเอก (3 ปี+) ระยะเวลาเรียนไม่เกิน 3 ปี ยกเว้น คณะแพทยศาสตร์ / ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ระยะเวลาเรียน 4 ปี
วิทยาลัย (2 ปี+) ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี ยกเว้น คณะพยาบาลศาสตร์ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี
วิทยาลัยเทคนิค (2 ปี+) เรียนหลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี (สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น) และใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี (สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย)
วิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพขั้นสูง) เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพแขนงต่าง ๆ จบแล้วสามารถนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพได้ทันทีระยะเวลาในการศึกษา โดยทั่วไป 2 ปี (ไม่มีหลักฐานภาษาอังกฤษ)

ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น  แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. การศึกษาระดับต้น ได้แก่ การศึกษาระดับอนุบาล โดยเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 3 ปี จนถึงอายุ 5 ปี และการศึกษาระดับประถมศึกษาหลักสูตร 6 ปี ตั้งแต่อายุ 6 ปี จนถึงอายุ 12 ปี
  2. การศึกษาระดับกลาง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาซึ่งแบ่งออกเป็น

2.1. มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปี ตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 15 ปี การเรียนในชั้นจะมีผลต่อการเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง

2.2. มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 3 ปี เริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 15 ปี ถึง 18 ปี

ในปัจจุบันโรงเรียนมัธยมปลายที่เปิดรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนยังมีไม่มากเท่าใดนัก ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของโรงเรียนประจำคือ นักเรียนจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนตลอดเวลา โดยมีหอพักอยู่ในบริเวณโรงเรียน พร้อมอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งการจะเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมปลายที่ญี่ปุ่นได้ จำเป็นจะต้องมีพื้นความรู้ภาษาญี่ปุ่นมากพอสมควร เนื่องจากการเรียนการสอนจะเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด สำหรับนักเรียนที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาญี่ปุ่นหรือมีพื้นฐานเพียงเล็กน้อย ในช่วงปีแรกของการเข้าเรียนทางโรงเรียนจะเน้นการเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาหลัก และเรียนวิชาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยความรู้ภาษาญี่ปุ่นมากนักร่วมกับเด็กนักเรียนญี่ปุ่น เช่น ดนตรี พละศึกษา คอมพิวเตอร์ เป็นต้น หลังจากที่นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นมากเพียงพอจึงจะเริ่มให้เข้าเรียนร่วมกับเด็กนักเรียนชาวญี่ปุ่นอย่างจริงจัง ซึ่งวิชาที่เรียนก็จะคล้ายกับประเทศไทย เช่น วิชาคณิตศาสตร์ สังคม ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ เป็นตัน

  1. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่ การศึกษาในมหาวิทยาลัยวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวศึกษา

3.1 มหาวิทยาลัย หรือ Daigaku มหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่นที่เปิดสอนะดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

3.1.1 มหาวิทยาลัยของรัฐ คือ มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งโดยรัฐบาลกลางของญี่ปุ่น กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งหมด 8 แห่ง (ข้อมูลปีพ.ศ. 2556) โดยแต่ละจังหวัดจะมีมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 1 แห่งเป็นอย่างต่ำ

3.1.2. มหาวิทยาลัยของท้องถิ่น คือ มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งโดยองค์กรปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น มีอยู่ทั้งสิ้น 90 แห่งทั่วประเทศ

3.1.3. มหาวิทยาลัยเอกชน คือ มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งโดยเอกชนมีอยู่ทั้งสิ้น 606 แห่งทั่วประเทศ

การศึกษาระดับปริญญาตรี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. นักศึกษาภาคปกติ ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี ยกเว้น คณะแพทยศาสตร์ , ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งจะต้องใช้เวลา 6 ปี
  2. นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทไม่รับหน่วยกิต (Auditors) สามารถเลือกเรียนวิชาต่าง ๆ ไต้ แต่คุณสมบัติของนักศึกษาและวิชาที่เปิดให้เข้าเรียนจะแตกต่างไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย (นักศึกษาประเภทนี้จะไม่ได้รับหน่วยกิต)
  3. นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทได้รับหน่วยกิต รายละเอียดเหมือนนักศึกษาเวลาพิเศษประเภทแรก แต่นักศึกษาประเภทนี้จะได้รับหน่วยกิตแม้ว่าจะแบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 3 ประเภทตามองค์กรที่จัดตั้งก็ตามแต่ทั้ง 3 ประเภทก็ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยมาตรฐานเดียวกัน คุณภาพทางการศึกษาในระดับเดียวกัน ต่างกันที่ค่าใช้จ่ายของเอกชนจะแพงกว่าของรัฐบาลและท้องถิ่น และถึงแม้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ต่างก็มุ่งที่จะเรียนในโตเกียวก็ตาม แต่ในพื้นที่อื่น ๆ ของญี่ปุ่นก็มีข้อได้เปรียบอื่น ๆ หลายอย่าง เช่นในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า จำนวนนักศึกษาต่อห้องที่น้อยกว่าทำให้อาจารย์ดูแลได้ทั่วถึง มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับสังคมท้องถิ่นง่ายกว่าการอยู่ในเมืองใหญ่ที่สับสนวุ่นวาย เป็นต้น

3.1. วิทยาลัย หรือ Tanki Daigaku การศึกษาในระดับนี้ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เช่นเดียวกับ Jonior College หรือ Two – year College ของสหรัฐอเมริกาแต่อาจจะมีบางสาขาวิชากำหนดหลักสูตรไว้ 3 ปี เช่น สาขาพยาบาล เป็นต้น วิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นนั้นประมาณร้อยละ 60 ของวิทยาลัยทั้งหมดเป็นวิทยาลัย เฉพาะสำหรับผู้หญิง ซึ่งประกอบด้วยสาขาทางต้น คหกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์  สุขศึกษา บริหารธุรกิจ และเลขานุการ (ปัจจุบันสาขาวิทยาศาสตร์ได้รับความนิยมเพิ่มมากชื้น) การรับเข้าศึกษาจะกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ เช่น เดียวกับการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยและผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 2 หรือ 3 ปี ของวิทยาลัยประเภทนี้อาจสมัครเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 2 หรือ 3 ของมหาวิทยาลัยได้

3.2. วิทยาลัยเทคนิค หรือ Koto Senmon Gakko เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี จากมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายใช้เวลาเรียน 2 ปี เพื่อผลิตช่างเทคนิคระดับต้นมารองรับการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม สถาบันส่วนใหญ่เป็นวิทยาลัยเทคนิคทางวิศวกรรมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นจะเป็นสาขาพิเศษต่าง ๆ เช่น การเดินเรือพาณิชย์ เป็นต้น ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคนี้ มหาวิทยาลัยอาจพิจารณารับเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 2 หรือ 3 ในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย

3.3. วิทยาลัยอาชีวศึกษา เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพแขนงต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถและความชำนาญที่จำเป็นในการประกอบอาชีพเปิดสอนหลักสูตรระยะสั้น 1-3 ปี โดยปกติแล้วจะเป็น 2 ปี สถาบันการศึกษาประเภทนี้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามพื้นฐานความรู้ของผู้เข้าศึกษา คือ

        • Senshu Gakho คือ สถาบันการศึกษาที่รับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนตัน (ม.3) เข้าศึกษา
        • Senmon Gakko คือ สถาบันการศึกษาที่รับผู้สำเร็จระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เข้าศึกษา
        • KakushuGakho (Miscellaneous School) คือ สถาบันการศึกษาที่รับทั้งผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และบุคคลทั่วไป

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาแบ่งออกเป็น 8 สาขา ได้แก่

  1. สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมก่อสร้าง ช่างสำรวจ และสถาปัตยกรรม เป็นต้น
  2. สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น เกษตรกรรม การจัดสวน เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
  3. สาขาการแพทย์และการพยาบาล เช่น พยาบาล เทคนิคทันตกรรมกายภาพบำบัด เป็นต้น
  4. การศึกษาและสังคมสงเคราะห์ เช่น การดูแลเด็กอ่อนและคนชรา สวัสดิการสังคม เป็นต้น
  5. สาขาสาธารณสุขศาสตร์ เช่น อาหาร โภชนาการ ช่างทำผม ช่างเสริมสวย เป็นต้น
  6. สาขาพาณิชยศาสตร์ เช่น บัญชี เลขานุการ ธุรกิจท่องเที่ยว การโรงแรม เป็นต้น
  7. สาขาคหกรรมศาสตร์ เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า ธุรกิจแฟชั่น ออกแบบ การตัดเย็บแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
  8. สาขาศิลปวัฒนธรรมและการศึกษาทั่วไป เช่น ภาษาศาสตร์ ศิลปกรรม ดนตรี กีฬา ถ่ายภาพ การแสดง เป็นต้น

ภาพระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

 สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

คุณสมบัติการรับนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษา

การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น การเรียนการสอนส่วนใหญ่สอนโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น การจะเข้าไปนั่งเรียนกับนักศึกษาญี่ปุ่นได้จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับที่ดีมาก

สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นแล้ว (ระดับ N2 -N1)

  1. สมัครโดยตรงจากประเทศไทย

มีมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาโดยพิจารณาจาก ใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร และตอบรับเข้าเรียนก่อนที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น โดยพิจารณาจากผลการสอบ EJU (มหาวิทยาลัยประมาณ 60 แห่ง) ประกอบกับผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น

  1. เดินทางไปสอบคัดเลือกในประเทศญี่ปุ่นโดยวีซ่าระยะสั้น

วิธีนี้ต้องวางแผนการให้ดี เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยมีการจัดสอบไม่ตรงกันคือสำหรับการเปิดภาคเรียนในเดือนเมษายน การสอบเข้าจะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน – มีนาคม

สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่น หรือต่ำกว่าระดับ N2

เข้าศึกษาในสถาบันสอนภาษาที่ญี่ปุ่นก่อน เป็นวิธีที่นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่ใช้มากที่สุดโดยเรียนกาษาญี่ปุ่นประมาณ 1 – 2 ปี หลังจากนั้นค่อยสมัครเข้าเรียนและดำเนินการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย หรือยื่นคะแนน EJU ตามแต่เงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัย รายละเอียดการสมัครเข้าเรียนแต่ละดับจำเป็นต้องเป็น ไปตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ระดับปริญญาตรี

  1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 12 ปี ( ตั้งแต่ ป.1 – ม.6 )
  2. กรณีที่สำเร็จการศึกษาในเวลา 10 ปีหรือ 11 ปี จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาใน “หลักสูตรเตรียมเข้าศึกษาต่อ” จากสถาบันที่ได้รับการรับรองโดยกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬาและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  3. เป็นผู้ที่สอบผ่านการสอบที่ได้รับการรับรองจากแต่ละประเทศว่าเทียบเท่าการสอบอนุมัติสำเร็จหลักสูตรการศึกษา จากสถานศึกษาระดับสูงของญี่ปุ่น
  4. เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า มีความรู้ความสามารถเทียบเท่า หรือมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนี้ คือ
    • เป็นผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายนานาชาติ (International Baccalaureate) หรือสอบผ่านหลักสูตร Abitur ของประเทศเยอรมันและมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 12 ปี จากสถานศึกษาสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การประเมินการศึกษานานาชาติ (WASC, ACSI, ECIS) และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  5. เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความรู้ความสามารถเทียบเท่า หรือมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ขึ้นอยู่กับการพิจารณาคุณสมบัติให้เข้าศึกษาเป็นราย ๆ ไป จากมหาวิทยาลัย และมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ระดับปริญญาโท

  1. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) หรือผู้ที่ได้รับการรับรองว่ามีความรู้ความสามารถเทียบเท่า หรือสูงกว่าปริญญาตรี หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเป็นเวลา 16 ปี (ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี)
  2. สำหรับผู้ที่จบการศึกษาในต่างประเทศเป็นเวลา 15 ปี ต้องเป็นผู้ที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรองว่า มีผลการเรียนดีเยี่ยม หรือผู้ที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติจากมหาวิทยาลัยที่ประสงค์จะเข้าต่อว่ามีความรู้ความสามารถเทียบเท่า หรือสูงกว่าและมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี

ระดับปริญญาเอก

  1. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือผู้ที่ได้รับการรับรองว่า มีความรู้ ความสามารถเทียบเท่าหรือสูงกว่าปริญญาโท
  2. ผู้ที่ได้รับการตรวจสอบคุณสมบัติจากมหาวิทยาลัยที่ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อว่ามีความรู้ความสามารถเทียบเท่า หรือสูงกว่าปริญญาโท และมีอายุไม่ต่ำกว่า 24 ปีสำหรับหลักสูตรปริญญาเอกของคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์ ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย 4 ปีขึ้นไป ต้องเป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยรับรองว่ามีผลการเรียนดีเยี่ยม และยังรวมไปถึงผู้ที่จบการศึกษาในต่างประเทศ เป็นเวลา 16 ปี

นักศึกษาวิจัย นักศึกษาที่ไม่ใช่นักศึกษาภาคปกติและไม่ต้องการได้รับปริญญาจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำวิจัย เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ซึ่งผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาวิจัยจะต้องจบปริญญาตรีขึ้นไป นักศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. นักศึกษาที่ไม่ต้องการปริญญาบัตร แต่ต้องการทำวิจัยในมหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลาสั้นๆ ตามกฎหมายนักศึกษาวิจัยที่จะได้รับสถานภาพการพำนักเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยนั้น ๆ จะต้องเข้าฟังบรรยายเป็นเวลามากกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ มหาวิทยาลัยส่วนมากจะรับนักศึกษาโดยพิจารณาจากเอกสารเป็นหลัก
  2. นักศึกษาภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัย
  3. นักศึกษาที่เตรียมเข้าศึกษาหลักสูตรปกติระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

กรณีผู้ที่เตรียมเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก (รวมทั้งผู้ที่ประสงค์จะเปลี่ยนสาขาวิชา) อาจเข้าเป็นนักศึกษาวิจัย เป็นเวลา 1 ปี เพื่อทำความคุ้นเคยกับวิชาและระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนทำความคุ้นเคยกับนักศึกษาและอาจารย์ทั้งยังเป็นโอกาสพัฒนาภาษาญี่ปุ่นด้วย และมหาวิทยาลัยบางแห่งมีการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการภายในสำหรับนักศึกษาวิจัยอีกด้วย อย่างไรก็ตามนักศึกษาไม่จำเป็นต้องเข้าเป็นนักศึกษาวิจัยก่อน หากสามารถเข้าระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกได้เลย นอกจากนั้นสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะอนุญาตให้นักเรียนศึกษาวิจัยต่างชาติพักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ไม่เกิน 2 ปีเท่านั้น

ระดับวิทยาลัย

การเข้าศึกษาระดับวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนของประเทศตนเอง เป็นระยะเวลา 12 ปี (ตั้งแต่ ป.1-ม.6) และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษา

การเข้าศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาในประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องมีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 12 ปี (จบม.ปลาย) และต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  2. กรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับกลางในเวลา 10 หรือ 11 ปี จะต้องเป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรเตรียมเข้าศึกษาต่อจากสถาบันที่ได้รับการรับรองและจะต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  3. ในการจะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนั้น จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่าหรือสูงกว่า
    • เป็นผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของหลักสูตรนานาชาติ ( International Baccalaureate) หรือสอบผ่านหลักสูตร Abitur ของประเทศเยอรมนี และต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
    • เป็นผู้ที่สำเร็จหลักสูตร 12 ปี ในสถานศึกษาสำหรับชาวต่างชาติซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรการประเมินระหว่างประเทศ ( WASC , ACSI , ECIS ) และต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ความรู้ความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

การเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำเป็นต้องมีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้ที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงยุติธรรมและสมาคมส่งเสริมการศึกษาภาษาญี่ปุ่น (และมีอัตราการเข้าเรียน 80% ขึ้นไป)
  2. เป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบความสมารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จัดโดยสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นและมูลนิธิญี่ปุ่นในระดับ 1 หรือ
  3. เป็นผู้ที่เคยศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาหรือโรงเรียนมัธยมต้นหรือโรงเรียนมัธยมปลายในญี่ปุ่น เป็นเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  4. เป็นผู้ที่ได้คะแนนของการสอบเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น (EJU) วิชาภาษาญี่ปุ่น มากกว่า 200 คะแนนขึ้นไป (ผลรวมของคะแนนการอ่าน, การฟัง, การฟังและการอ่าน)

เอกสารที่ใช้ในการสมัครสถานศึกษา

เอกสารที่ใช้ในการสมัครสถานศึกษานั้น อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัยแต่โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย

  1. ใบสมัคร
  2. ประวัติส่วนตัว
  3. ใบรับรองการสำเร็จการศึกษา (หรือคาดว่าจะจบ) จากสถานศึกษาล่าสุด
  4. ใบรับรองผลการศึกษา (Transcripts) จากสถานศึกษาล่าสุด
  5. จดหมายรับรองจากอธิการบดี หรือคณบดี หรืออาจารย์ที่ปรึกษา จากมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา
  6. บทคัดย่อของงานวิจัย(ถ้ามี) วิทยานิพนธ์ จากมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษา
  7. โครงร่างงานวิจัย (เป้าหมาย)
  8. ใบรับรองแพทย์ (ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย)
  9. รูปถ่าย

การพิจารณารับเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา

ระดับปริญญาตรี

  1. การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น และการสอบวิชาสามัญทั่วไป การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียนของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ และมีมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่จัดให้มีกระบวนการสอบคัดเลือกพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งผู้สมัครต้องไปสอบที่ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่พิจารณาจากการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น และการสอบวิชาสามัญทั่วไปสำหรับนักศึกษาต่างชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่รับเข้าศึกษาต่อโดยการคัดเลือกจากเอกสารเพียงอย่างเดียว
  2. การสอบโดยศูนย์การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ เป็นการสอบสำหรับนักศึกษาญี่ปุ่นที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือท้องถิ่นจำเป็นต้องผ่านการทดสอบของศูนย์การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนมากยกเว้นการสอบให้กับนักศึกษาต่างชาติ แต่บางคณะของสถาบันบางแห่งยังคงกำหนดให้นักศึกษาต่างชาติต้องผ่านการสอบนี้อยู่ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์
  3. วิธีการอื่น ๆ ในการคัดเลือกนักศึกษาต่างชาติ วิธีการอื่นๆที่มหาวิทยาลัยใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาต่างชาติ มีทั้งการตรวจสอบเอกสาร การสอบวัดความสามารถที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ จัดขึ้นโดยเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ บทความสั้นเรียงความ การสอบวัดความสามารถและความถนัดอื่น ๆ ซึ่งมีวิธีการแตกต่างกันไปตามคณะของแต่ละมหาวิทยาลัย

สถาบันระดับอุดมศึกษาในประเทศญี่ปุ่นจะประกาศรับสมัครนักศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี นักศึกษาควรติดต่อกับทางสถาบันการศึกษาโดยตรงเนื่องจากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะกำหนดวิธีการในการสมัครของตนเองวันหมดเขตรับสมัครจะแตกต่างกันไปตามสถาบันหรือคณะ บางแห่งก็เร็ว คือ อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน บางแห่งช้าไปจนถึงเดือนมกราคมหรือเดือนกุมภาพันธ์ หากส่งใบสมัครจากประเทศไทยต้องคำนึงถึงระยะเวลาของการส่งไปรษณีย์ด้วยเนื่องจากเอกสารจะต้องถึงก่อนวันปิดรับสมัคร

ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (บัณฑิตวิทยาลัย)

มีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่สามารถเข้าศึกษาได้เลยโดยพิจารณาจากเอกสารการสมัครเรียน แต่โดยทั่วไปแล้วนักศึกษาจำเป็นต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นที่ญี่ปุ่นก่อน นอกเหนือจากการตรวจสอบเอกสาร การสอบข้อเขียนตามสาขาวิชาเอก การสอบภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ และวิชาพิเศษอื่น ๆ แล้ว ยังอาต้องสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องหัวข้อวิจัย รวมทั้งสาขาที่จะเข้าศึกษา ทั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยบางแห่ง ต้องใช้ผลการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นมาประกอบในการสมัครด้วย

มหาวิทยาลัยหลายแห่งกำหนดให้นักศึกษาทั้งภาคปกติและนักศึกษาวิจัยติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษารับรองก่อนสมัครเรียน ดังนั้นจึงควรสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยที่จะสมัครเสียก่อนว่า จำเป็นต้องติดต่อกับอาจารยที่ปรึกษาหรือไม่ ในกรณีที่จำเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือ ขอให้ศาสตราจารย์ผู้รับผิดชอบในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ แนะนำอาจารย์ที่ปรึกษาให้ หรือในกรณีที่ส่งจดหมายที่ปรึกษาควรส่งผลงานหรือวิทยานิพนธ์ที่เคยทำสมัยปริญญาตรี แผนการทำวิจัย รวมทั้งชี้แจงถึงเหตุผลที่เลือกท่านมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างละเอียด ถ้าเป็นไปได้ควรแนบใบรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยที่เคยหรือกำลังศึกษาอยู่ไปด้วยเนื่องจากอาจารย์ต้องพิจารณารับนักเรียนจากเอกสารโดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจึงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ การติดต่ออาจารย์ในครั้งแรกๆอาจไม่ได้รับการตอบกลับมา จำเป็นต้องติดต่อหรือติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงความตั้งใจจริงและความกระตือรือร้น

การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษา
  1. ค้นหารายชื่ออาจารย์และสังกัดจากหนังสือแนะนำมหาวิทยาลัย, หนังสือแนะนำอาจารย์ของมหาวิทยาลัย หรือจดหมายข่าว
  2. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่เคยไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในสาขาที่จะศึกษาต่อ
  3. ถ้าค้นหาข้อมูลของสาขาที่จะศึกษาต่อจากโฮมเพจของมหาวิทยาลัย ไม่ให้ส่งอีเมล์ โทรสาร หรือจดหมาย เพื่อขอรายละเอียดไปที่มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นโดยตรง
  4. ค้นหาข้อมูลนักวิจัยและหัวข้อวิจัยจากเว็บไซต์ http://read,jstgo.jpindexe.html ช่วงเวลาในการสอบจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนมากจะจัดสอบในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม แต่ก็มีบางแห่งจัดสอบในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม โดยเฉพาะในสาขาทางศิลปะ

ระดับวิทยาลัย

การเข้าศึกษาในวิทยาลัยนั้น นักศึกษาจะต้องสอบผ่านการสอบคัดเลือกเข้าวิทยาลัยที่จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น มีวิทยาลัยประมาณ 40% ที่มีวิธีการพิจารณาพิเศษสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ยิ่งไปกว่านั้นมีวิทยาลัยถึง 69% ที่ใช้ผลสอบวัตระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น และ 37% ใช้ผลการสอบสามัญทั่วไป สำหรับนักศึกษาต่างชาติเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก

ระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษา

การสอบเข้าของสถาบันการศึกษาประเภทนี้นั้น ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ

  1. การพิจารณาตามเอกสาร
  2. การสอบตามสาขาวิชา
  3. การสอบสัมภาษณ์
  4. การเขียนบทความสั้นๆ หรือการเขียนเรียงความ
  5. การทดสอบความถนัด
  6. การสอบภาคปฏิบัติ
  7. การสอบภาษาญี่ปุ่นและกตสอบความสามารถทางวิชาการ

การสมัครเรียนในประเทศญี่ปุ่น

วิทยาลัยอาชีวศึกษาจะมีการจัดงานเปิดสถาบัน (Open Campus) ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี เพื่อให้นักเรียนที่สนใจเข้าเยี่ยมชมสถาบันได้ (ภายในช่วงเวลาที่กำหนด) โดยสามารถเดินทางไปดูสถานที่จริง รับข้อมูลเนื้อหาหลักสูตร ชมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน รวมไปถึงการเข้าทดลองเรียนจริงในสาขาวิชาที่สนใจ เพื่อประกอบการตัดใจเลือกสาขาวิชาและสถาบันที่ตรงกับความต้องการได้ ซึ่งระหว่างที่เรียนภาษาอยู่ นักเรียนสามารถดำเนินเรื่องสมัครเรียนควบคู่ไปด้วยกับการสอบได้

การสอบในประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไปจะมีการจัดสอบหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนภาคเรียนในเดือนเมษายนปีถัดไป

วิทยาลัยเทคนิค การสอบเข้าของสถาบันการศึกษาประเภทนี้นั้น ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. การสอบตามสาขาวิชา
  2. การสอบด้วยการเขียนเรียงความ
  3. คัดเลือกจากเอกสาร
  4. การสัมภาษณ์
  5. การทดสอบความเหมาะสม
  6. การสอบภาคปฏิบัติ
  7. การสอบภาษาญี่ปุ่น

แม้ว่าวิธีการสอบจะแตกต่างกันไปตามสาขาวิชาหรือสถาบันแต่หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้ คือ พิจารณาจากความตั้งใจจริงในการศึกษา ความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่ต้องมีอย่างเพียงพอที่จะสามารถเข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงเรียน และมีเป้าหมาย ในการเรียนชัดเจนหรือไม่เพียงใด

การสอบ

  1. การสอบวิชาสามัญทั่วไป สำหรับนักศึกษาต่างชาติ (EJU)

มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทั้งหมดใช้การสอบนี้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา (โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี) ในมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่นมี JASSO เป็นผู้จัดสอบ โดยมีศูนย์สอบในประเทศญี่ปุ่น 715 แห่งและในเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทยด้วย 17 แห่ง สามารถเลือกวิชาและภาษาที่จะสอบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ (ยกเว้นวิชาภาษาญี่ปุ่นจะสอบเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น) ดังนี้

วิชา จุดมุ่งหมาย เวลา/ นาที คะแนน
ภาษาญี่ปุ่น เพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นต่อการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น (Academic Japanese) 125 การอ่านและการฟัง 0 = 400

การเขียน 0 – 50 คะแนน

วิทยาศาสตร์ เพื่อวัดระดับความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา) ในการศึกษาคณะทางสายวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น 80 0 = 200

 

สังคม/ ความรู้ทั่วไป เพื่อวัดความรู้สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่จำเป็นในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะความสามารถทางด้านตรรกะ และการใช้ความคิดหาเหตุผล 80 0 = 200

 

คณิตศาสตร์ การวัดความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ที่จำเป็นในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่น 80 0 = 200

 

รายละเอียดการสอบ

รายละเอียด /

ครั้งที่

ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
เวลาสมัคร เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
วันสอบ เดือนมิถุนายน เดือนพฤศจิกายน
การประกาศผล เดือนกรกฎาคม เดือนธันวาคม

สถานที่รับสมัคร

สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.น.ญ.)

ที่อยู่: อาคารพหลโยธินเพลส ชั้นที่ 16 เลขที่ 408/65 ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทร: 02-357-1241-5

E-mail: admin@ojsat.or.th

  1. การสอบวัดระดับความสมารถทางภาษาญี่ปุ่น จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติ การสอบภายในประเทศญี่ปุ่น จัดสอบที่เมืองซัปโปโร โตเกียว คานางาวะ นาโงยา เกียวโต โอซากา โกเบ ฮิโรชิมา และฟูกูโอกะ

สำหรับประเทศไทยจัดสอบที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น

การสอบแบ่งเป็นระดับ ระดับที่ 1 (lkkyu) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการสอบนี้ (ผ่านการศึกษาภาษาญี่ปุ่นประมาณ 900 ชั่วโมง) ใช้เป็นเกณฑ์วัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติที่สมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น แต่ในระยะหลังมหาวิทยาลัยบางแห่งใช้เพียงระดับ 2 เท่านั้น เกณฑ์การนำผลสอบไปประกอบการพิจารณาจะแตกต่างกันในแต่ละมหาวิทยาลัย

สถานที่รับสมัครและสอบ

กรุงเทพมหานคร

    • สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สาขาพหลโยอิน)

ที่อยู่: อาคารพหลโยธินเพลส ชั้นที่ 16 เลขที่ 408/65 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทร: 02-357-1241-5

    • สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบมราชูปถัมภ์ (สาขาสีลม)

ที่อยู่: 1/7 ชั้น 2 อาคารสีบุญเรื่อง 2 ถนนคอนแวนด์สีลม บางรัก กรุงเทพฯ 10500

โทร: 02-234-6951

เชียงใหม่

    • สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานภาคเหนือ

ที่อยู่: 3/3 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

โทร: 053-814-344

สงขลา

    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ที่อยู่: 140 หมู่ 4 ตำบลขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

โทร: 074-311-885-7 ต่อ 1308 หรือ 1310

ขอนแก่น

    • สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่อยู่: ชั้น 4 อาคารศูนย์วิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา

ปริญญาโทและปริญญาเอก

เงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอกนั้นแตกต่างกันในระดับปริญญาโท นักศึกษาจะต้องศึกษาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และได้รับหน่วยกิตในสาขาวิชาเอกครบตามที่กำหนด (อย่างน้อย 30 หน่วยกิต) รวมทั้งต้องเขียนและตรวจสอบวิทยานิพนธ์ให้ผ่านด้วย นักศึกษาที่สำเร็จจะได้รับ “ปริญญามหาบัณฑิต” (Shushi)

ส่วนหลักสูตรปริญญาเอกนั้น โดยหลักการแล้วนักศึกษาจะต้องศึกษาเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ซึ่งรวมระยะเวลาที่ศึกษาในระดับปริญญาโท 2 ปี และได้รับหน่วยกิตรวมในระดับปริญญาโทอย่างน้อย 30 หน่วยกิตด้วย รวมทั้งต้องเขียนและสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกให้ผ่าน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับ “ปริญญาดุษฎีบัณฑิต” (Hakushi)

วิทยาลัย

การสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนั้น นักศึกษาจะต้องเรียนอย่างน้อย 2 ปีสอบผ่านอย่างน้อย 62 หน่วยกิต ในวิทยาลัยที่เรียน 2 ปี และสำหรับวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 3 ปีนั้น นักศึกษาจะต้องสอบผ่านอย่างน้อย 93 หน่วยกิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 3 ปีจะได้อนุปริญญา

วิทยาลัยอาชีวศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง จะได้รับการยอมรับเป็น “ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Senmon-s)” ซึ่งจะมีผลต่อการหางานและการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษา

เงื่อนไข ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
จำนวนปีในการศึกษา 2 ปีขึ้นไป 4 ปีขึ้นไป
จำนวนชั่วโมงเรียน 1,700 ชั่วโมงขึ้นไป 3,400 ชั่วโมงขึ้นไป
การอนุมัติจบหลักสูตร อนุมัติจบหลักสูตรโดยประเมินจากผลการสอบ อนุมัติจบหลักสูตรโดยประเมินจากผลการสอบ
โครงสร้างหลักสูตร ตามระบบ 4 ปีการศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัย

เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น ก็จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตรชั้นสูง ผู้ที่ได้ประกาศนียบัตรวิชาชีพสามารถสอบเทียบโอนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้

ส่วนผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ก็สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้ การจะสำเร็จการศึกษาได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาจากผลสอบปลายภาคหรือจำนวนวันที่เข้าเรียน เป็นตัน

เกณฑ์การเลือกสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น

การเลือกสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยจัดไว้นั้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. สถาบันนั้นต้องได้รับการรับรองจากสมาคมส่งเสริมการศึกษาภาษาญี่ปุ่น (Association for the Promotion of Japanese Language Education)
  2. เนื้อหาของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับจุดมุ่งหมายของนักศึกษา
  3. การแบ่งระดับชั้นเรียน มีการจัดสอบเพื่อแบ่งชั้นเรียนตามพื้นความรู้ ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษา เพื่อจะได้เรียนบทเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของแต่ละคน
  4. วิชาพื้นฐาน สถาบันเปิดสอนวิชาพื้นฐานสำหรับการสอบคัดเลือก (ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี สังคมศาสตร์ เป็นต้น) พร้อมกับสอนหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นด้วย
  5. หอพักของสถาบัน สถาบันนั้นมีหอพักเอง หรือหากไม่มีที่พักของสถาบันโดยเฉพาะทางสถาบันควรมีนโยบายช่วยเหลือติดต่อหาที่พักอื่น ๆ ให้นักศึกษา
  6. การแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษาและความเป็นอยู่ ควรมีบริการในการให้คำแนะนำทั้งด้านการศึกษาและความเป็นอยู่
  7. มาตรฐานการเรียนการสอน ดูจากสถิติผู้สอบวัดระดับ หรือสอบเข้าศึกษา
  8. จำนวนอาจารย์ผู้สอนเหมาะกับจำนวนนักเรียน
  9. ค่าเล่าเรียนเหมาะสมกับจำนวนชั่วโมงเรียน จำนวนผู้สอบ อุปกรณ์ กิจกรรม และไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้

ระยะเวลาการเรียนภาษาญี่ปุ่น

การเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น จะใช้เวลาศึกษา ดังนี้

  1. ผู้สมัครเข้าศึกษาในเดือนเมษายน จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี
  2. ผู้สมัครเข้าศึกษาในเดือนตุลาคม จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี 6 เดือน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าเป็นอย่างต่ำโดยมีเวลาศึกษาในชั้นประถมและมัธยมศึกษารวมกันไม่น้อยกว่า 12 ปี
  2. เป็นผู้ที่มีฐานะทางการเงินเพียงพอที่จะศึกษาเล่าเรียนในประเทศญี่ปุ่นจนสำเร็จการศึกษา

เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร

การสมัครเรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นนั้น สถาบันสอนภาษาจะพิจารณารับนักศึกษาจากเอกสาร โดยเอกสารหลักที่ต้องส่งไป มีดังนี้

  1. ใบสมัครของโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่กรอกข้อความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
  2. หลักฐานการศึกษาที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษาเทียบได้ไม่ต่ำกว่า grade 12 ยื่นขอได้ที่สำนักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต นักเรียนต้องนำหลักฐานการสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่
    • รบ.1 (ภาษาไทย) 1 ชุด พร้อมสำเนา
    • Transcript (ภาษาอังกฤษ) 1 ชุด พร้อมสำเนา
    • สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ เพื่อขอหนังสือรับรอง

นักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ปวช. สังกัดรัฐยื่นขอได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปวช. สังกัดเอกชนยื่นขอได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำหรับผู้จบ ปวช. หลักสูตรราชมงคลยื่นขอที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร วิทยาเขตเทเวศร์

  1. รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว ประมาณ 6 รูป
  2. ค่าสมัคร (ประมาณ 30,000 เยน)

วิธีการสมัคร

จัดส่งหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวไปยังโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่ประสงค์จะเข้าศึกษา เมื่อโรงเรียนสอนภาษาแห่งนั้นพิจารณาแล้ว เห็นสมควรรับนักเรียนเข้าศึกษาได้ก็จะออกหนังสือตอบรับให้ แล้วจัดส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในท้องถิ่นที่โรงเรียนนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอหนังสือรับรองสถานภาพการอยู่อาศัยเมื่อสำนักงานดังกล่าวอนุมัติสถานภาพการอยู่อาศัยของนักเรียนแล้ว ก็จะจัดส่งเอกสารรับรองไปให้โรงเรียนสอนภาษา เพื่อส่งให้นักเรียนนำไปขอประทับตราวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยต่อไป

ระยะเวลาในการสมัคร

  • ผู้ที่ต้องการไปศึกษาในเดือนเมษายน ควรสมัครช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ผู้ที่ต้องการไปศึกษาในเดือนตุลาคม ควรสมัครช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

เมื่อรวมเวลาที่ใช้ในการสมัครแล้ว ควรเริ่มเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนไปศึกษาอย่างน้อย 6 – 8 เดือน

ที่มา:

หนังสือสาระน่ารู้ OCSC EXPO 2018

 สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558088-269 5099
Email :contact@thebest-edu.com
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

เพิ่มเพื่อน

  • Advanced Search

Compare Listings